ความกระตือรือร้นในการทำงานที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการทำงาน ของนักบัญชีบริษัทในจังหวัดหนองบัวลำภู

Main Article Content

อนุชิต อนุศรี
จินตนา เข่งหุ่ง
พุทธรัตน์ ถาบุญเรือง
เทพธิดา สัมนา
พเยา สุระเสียง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ เพื่อศึกษาความกระตือรือร้น และความสำเร็จในการทำงานของนักบัญชีบริษัทในจังหวัดหนองบัวลำภู  และเพื่อเปรียบเทียบความกระตือรือร้นในการทำงานของนักบัญชีบริษัทในจังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  คือ นักบัญชีบริษัท ในจังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 143 คน การกำหนดกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการใช้ตารางของ  Krejcie and Morgan จากประชากรทั้งหมด จำนวน 226 คน  ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และ F-test


        ผลการวิจัย พบว่า นักบัญชีบริษัท มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความกระตือรือร้นในการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับ มาก (gif.latex?\bar{x}  = 4.43) และเมื่อพิจารณาป็นรายด้านด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการเอาใจใส่และตั้งใจทำงาน (gif.latex?\bar{x}  = 4.50) รองลงมา คือ ด้านการทำงานทันทีที่ได้รับมอบหมาย (gif.latex?\bar{x}  = 4.50)  และด้านการศึกษาหาความรู้ (  gif.latex?\bar{x} = 4.43)  สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำเร็จในการทำงานของนักบัญชีบริษัทโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มาก (gif.latex?\bar{x} = 4.35) และเมื่อพิจารณาป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการมาตรฐานและความเชื่อถือได้ (gif.latex?\bar{x} = 4.42) รองลงมา คือ ด้านความพึงพอใจจากผู้เกี่ยวข้อง (gif.latex?\bar{x} = 4.40) และด้านความทันเวลาของผลลัพธ์ (= 4.32) และเมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับความกระตือ รือร้นในการทำงานนักบัญชีบริษัท ที่มีเพศ ระดับการ ศึกษา สถานภาพ รายได้สุทธิเฉลี่ยต่อเดือนที่ได้รับในปัจจุบัน ประสบการณ์ในการทำงานด้านบัญชี ตำแหน่งงานในปัจจุบัน แตกต่างกัน พบว่า โดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนการเปรียบเทียบคิดเห็นเกี่ยวกับความสำเร็จในการทำงานของนักบัญชีบริษัทที่มีอายุ แตกต่างกัน มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับความสำเร็จในการทำงาน ด้านการบรรลุเป้าหมาย ด้านมาตรฐานและความเชื่อถือได้ ด้านความทันเวลาของผลลัพธ์ และด้านความพึงพอใจจากผู้เกี่ยวข้องแตกต่างกัน คือ นักบัญชีบริษัท ในจังหวัดหนองบัวลำภู ที่มีอายุน้อยกว่า 25 ปี   มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำเร็จมากกว่านักบัญชีที่มีอายุตั้งแต่ 35 - 45 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] ศศิวิมล มีอำพล. (2557). ทฤษฎีการบัญชี. กรุงเทพ ฯ : อินโฟมนิ่ง.
[2] กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. ระบบคลังข้อมูลธุรกิจ. เข้าถึงเมื่อ 20 พฤษภาคม 2560. เข้าได้จาก http:/www.dbd.go.th/bdw/menu/ets/l .html.
[3] บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสานส์น.