ชุดควบคุมปั๊มสูบกากน้ำตาลอัตโนมัติ

Main Article Content

เจตนิพัทธ์ ตันสกุล
ฉัตรชัย อินทะวงศ์
วิทยา เบ้าสิงห์สวย
สิทธิไชย สิงห์มหาไชย
รุ่งเรือง เพ็ญกุลกิจ
จิระพจน์ ประพิน
กมล มาสุข

บทคัดย่อ

งานวิจัยชุดควบคุมปั๊มสูบกากน้ำตาลอัตโนมัติ     มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อสร้างและเพื่อหาประสิทธิภาพชุดควบคุมปั๊มสูบกากน้ำตาลอัตโนมัติ จากปัญหาในกระบวนการหมักส่าของการผลิตสุราของ
บริษัท เทพอรุโณทัย จำกัด ที่ใช้คนในการควบคุมการเปิด-ปิด ปั๊มสูบกากน้ำตาลและเกิดความคลาดเคลื่อนในแต่ละขั้นตอนถึงร้อยละ 8-10 ผู้วิจัยจึงได้กำหนดประสิทธิภาพของชุดควบคุมปั๊มสูบกากน้ำตาลอัตโนมัติคือ มีความคลาดเคลื่อนในการสูบกากน้ำตาลไม่เกินร้อยละ 5 จากการดำเนินการศึกษาวิจัยคณะผู้วิจัยได้ออกแบบและสร้าง ชุดควบคุมปั๊มสูบกากน้ำตาลอัตโนมัติควบคุมด้วย Arduino Nano และโปรแกรมสำหรับควบคุมระบบให้ทำงานร่วมกับมิเตอร์วัดการไหลและส่งข้อมูลย้อนกลับมาควบคุมการเปิด–ปิดปั๊มนำมาใช้ในกระบวนการหมัก 2 ขั้นตอนที่ต้องการใช้ปริมาณกากน้ำตาลที่แตกต่างกัน ขั้นตอนที่ 1 ต้องการปริมาณกากน้ำตาล 28,000 ลิตร ขั้นตอนที่ 2 ต้องการปริมาณกากน้ำตาล 14,000 ลิตร ผลการทดลองพบว่า ในการหมักส่าขั้นตอนที่ 1 มีความคลาดเคลื่อนร้อยละ 0.357 และขั้นตอนที่ 2 มีความคลาดเคลื่อนร้อยละ 0.714 สามารถช่วยลดความคลาดเคลื่อนได้ถึงร้อยละ 92.86 เมื่อเทียบกับการใช้คนควบคุมการเปิดปิดปั๊มสูบกากน้ำตาล จึงกล่าวได้ว่าชุดควบคุมปั๊มสูบกากน้ำตาลอัตโนมัติมีประสิทธิภาพตามที่ได้ตั้งไว้ และสามารถช่วยประหยัดต้นทุนในการหมักหากคำนวณจากราคากากน้ำตาลลิตรละ 5 บาท สูญเสียกากน้ำตาลครั้งละ 2,000 ลิตร คิดเป็นเงิน 10,000 บาทต่อครั้งในหนึ่งปีจะมีการหมักประมาณ 900 ถังต่อปีแสดงว่า ชุดควบคุมปั๊มสูบกากน้ำตาลอัตโนมัติสามารถช่วยประหยัดเงินได้ถึง 18,000,000 บาทต่อปี และยังช่วยประหยัดพลังงานในการหมักรวมถึงสามารถขยายผลให้กับกับบริษัทในเครือได้ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] นราธิป ทองปาน (2559). การพัฒนาระบบรด
น้ำอัตโนมัติผ่านเครือข่ายเซ็นเซอร์ไร้สาย.
เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 กันยายน. เข้าถึงได้จาก
http://202.29.22.73/conf/ nctim_2016/
file/03/11-IT-50-A1-ok-95.pdf
[2] กองพล อารีรักษ์ (2558). การควบคุมแบบ
อัตโนมัติของระบบปั๊มน้ำสำหรับไร่มัน
สำปะหลังที่ใช้แหล่งพลังงานโซลาร์เซลล์.
เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 กันยายน. เข้าถึงได้จาก
http://sutir.sut.ac.th:8080/sutir
/bitstream/123456789/6205/2/
Fulltext.pdf
[3] ทินรัตน์ มีชัย. การใช้บอร์ดทดลอง.((2558
Arduino UNO. เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 กันยายน
จาก http://119.46.244.220/article/
file_upload/vijiardino.pdf
[4] เครื่องมือวัดการไหลแบบสนามแม่เหล็ก.
(2555).[ออนไลน์] electromagnetic flow
meter) [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2560]
จากwww.automation.siemens.com
[5] การผลิตสุรากากน้ำตาล. (2554) [ออนไลน์]
[สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2560] จาก
https://surathai.wordpress.com/
//2011/05/15 alcohol-molasse/