การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะ การคิดวิเคราะห์และการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง โดยมีขั้นตอนดำเนินการวิจัย 5 ขั้นตอน ดังนี้ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนการสอนของสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 (2) การวิเคราะห์และสังเคราะห์รูปแบบ (3)การสร้างรูปแบบ (4)การทดลองใช้รูปแบบ และ(5) การประเมินและรับรองรูปแบบผลการวิจัยพบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นแบ่งออกเป็น 3 ด้านคือ (1) ด้านองค์ประกอบของรูปแบบประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ (2) ด้านขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบประกอบด้วย 7 ขั้นตอนและ (3) ด้านโครงสร้างและองค์ประกอบของบทเรียนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย 6 โมดูลโดยบทเรียนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นตามรูปแบบฯ ผู้เชี่ยวชาญได้ประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยบทเรียนฯ มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 87.06/84.78 ดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ .6447 ส่วนผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05และพบว่าผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะการทำงานเป็นทีมสูงกว่าผู้เรียนที่เรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05นอกจากนี้ผู้เรียนยังมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น โดยรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
สงวนสิทธิ์ โดย สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1
306 หมู่ 5 ถนนมิตรภาพ หนองคาย-อุดรธานี ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 43000
โทร 0-4241-1445,0-4241-1447
ISSN : 3027-6861 (print) ISSN : 3027-687X (online)
References
“รายงานประจําปี2558 สํานักงาน
คณะกรรมการการอาชีวศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ”, พ.ศ. 2558.
[2] ธีรวุฒิ บุญยโสภณ, “แนวทางจัดการ
อาชีวศึกษาและเทคโนโลยีของประเทศ”,
เอกสารประกอบการสัมมนาอภิปรายและ
วิพากษ์ผลการวิจัยสถานการณ์อาชีวศึกษา
และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อ
พัฒนาอาชีวศึกษาของประเทศ. ศูนย์ผลิต
ตำราเรียนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, พ.ศ. 2556.
[3] คณิต เฉลยจรรยาและคณะ, “ผลการวิจัย
สถานการอาชีวศึกษาและจัดทำข้อเสนอแนะ
เชิงนโยบายเพื่อพัฒนาการอาชีวศึกษาของ
ประเทศ”, เอกสารประกอบการสัมมนา
อภิปรายและวิพากษ์ผลการวิจัยสถานการณ์
อาชีวศึกษาและจัดทำข้อเสนอแนะเชิง
นโยบายเพื่อพัฒนาอาชีวศึกษาของประเทศ.
ศูนย์ผลิตตำราเรียนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, พ.ศ. 2556.
[4] พูลศักดิ์ โกษียาภรณ์และคณะ, “รายงาน
การศึกษาโครงการการศึกษาสถานภาพ
ที่มีผลต่อการพัฒนาระบบอาชีวศึกษาของ
ไทย”, ศูนย์ผลิตตําราเรียนมหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ,
พ.ศ. 2556.
[5] Gunter, M. A., et al. Instruction : A
Models Approach. Boston : Allyn
and Bacon.1990.
[6] มนต์ชัย เทียนทอง. การออกแบบและพัฒนา
คอร์สแวร์.กรุงเทพฯ:คณะครุศาสตร
อุตสาหกรรมสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
พระนครเหนือ. 2545.
[7] ไชยยศ เรืองสุวรรณ.การออกแบบและการ
พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอรและบทเรียนบน
เครือข่าย. มหาสารคาม:คณะศึกษาศาสตร
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.2548.
[8] Kemp, J. E. The Instructional Design
Process. New York : Harper
&Row.(1985).
[9] บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น.
สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น, พ.ศ. 2554.
[10] ธานินทร์ ศิลป์จารุ, “การวิจัยและวิเคราะห์
ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และAMOS”,
สำนักพิมพ์เอสอาร์ปรินติ้งแมสโปรดักส์จำกัด,
พ.ศ.2555.