การพัฒนาการบริหารจัดการระบบการเงินของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

Main Article Content

สมฤทัย ทรงสิทธิโชค

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันการบริหารจัดการระบบการเงินของสถานศึกษา              สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2) พัฒนาและประเมินคู่มือการบริหารจัดการระบบการเงินของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยโดยศึกษาสภาพปัจจุบันการบริหารจัดการระบบการเงินของสถานศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลจากการตรวจสอบภายใน ตามแผนการตรวจสอบสถานศึกษา ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 21 แห่ง เพื่อนำข้อมูลสภาพปัจจุบันการบริหารจัดการระบบการเงินของสถานศึกษา มาใช้ประกอบในการพัฒนาคู่มือการบริหารจัดการระบบการเงินของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จากนั้นจึงนำคู่มือการบริหารจัดการระบบการเงินของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา แล้วนำคู่มือการบริหารจัดการระบบการเงินของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ไปใช้กับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รวมทั้งติดตามประเมินผลการใช้คู่มือการบริหารจัดการระบบการเงินของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้


        การพัฒนาคู่มือการบริหารจัดการระบบการเงินของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา การนำรูปแบบ ADDIE Model ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล 2) ขั้นกำหนดรายละเอียดของคู่มือการพัฒนาระบบการเงินของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 3) ขั้นการออกแบบและพัฒนาคู่มือการบริหารจัดการระบบการเงินของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 4) ขั้นการทดลองใช้และปรับปรุง 5) ขั้นการประเมินผล ซึ่งคู่มือการบริหารจัดการระบบการเงินของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จัดแบ่งเนื้อหา ออกเป็น 5 หน่วย ประกอบด้วย หน่วยที่ 1 บทนำ  หน่วยที่ 2 การจ่ายเงินของส่วนราชการ  หน่วยที่ 3 การเบิกจ่ายเงินยืม หน่วยที่ 4 การรับเงินของส่วนราชการ และหน่วยที่ 5 การเก็บรักษาเงินของส่วนราชการ ผู้วิจัยได้ดำเนินการประเมินความเหมาะสมของคู่มือการบริหารจัดการระบบการเงินของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาใช้วิธีการสนทนากลุ่ม โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 11 คน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารสถานศึกษา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงินบัญชี   และผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบบัญชี ผลการประเมินในภาพรวม พบว่า รูปแบบและคู่มือการพัฒนาระบบการเงินของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ   การอาชีวศึกษามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด


        ผู้วิจัยได้พัฒนาคู่มือการบริหารจัดการระบบการเงินของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  ที่จัดแบ่งเนื้อหาออกเป็น 5 หน่วย ได้แก่ หน่วยที่ 1 บทนำ หน่วยที่ 2 การจ่ายเงินของส่วนราชการ หน่วยที่ 3 การเบิกจ่ายเงินยืม หน่วยที่ 4 การรับเงินของส่วนราชการ และหน่วยที่ 5 การเก็บรักษาเงินของส่วนราชการ ซึ่งคู่มือการบริหารจัดการระบบการเงินของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา ที่มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด แสดงว่าคู่มือการบริหารจัดการระบบการเงินของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สามารถนำใช้ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
รายงาน ประจำปี 2560 : สำนักงาน
คณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
กระทรวงศึกษาธิการ. 2560.
[2] สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
พุทธศักราช 2556 กรุงเทพฯ : สำนัก
มาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ,
[3] สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
การประเมินการปฏิบัติงานด้านการเงิน
ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการอาชีวศึกษาในเขต
กรุงเทพมหานคร จำนวน 21 แห่ง
ประจำปี งบประมาณ 2559. หน่วย
ตรวจสอบภายใน สำนักงานคณะกรรมการ
การอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ, 2559.
[4] วนิดา ปอน้อย. รายงานการการศึกษาความฃ
เสี่ยงเกี่ยวกับการปฏิบัติไม่เป็นไปตาม
กฎระเบียบข้อบังคับทางด้านการเงินและ
พัสดุ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
ธัญบุรี. 2552.
[5] สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน. รายงานประจำปี
2559 สืบค้น 8 ธันวาคม 2560จาก
ttp://www.ombudsman.go.th/10/
documents/public/Report59.pdf. 2560.
[6] สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
รายงานสรุปผลการประเมินความพึงพอใจ/
ความคิดเห็นของหน่วยรับตรวจต่อการ
ปฏิบัติงานของหน่วยตรวจสอบภายใน
ประจำปีงบประมาณ 2560. หน่วยตรวจสอบ
ภายใน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีว
ศึกษากระทรวงศึกษาธิการ, 2560.
[7] สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
การประเมินการปฏิบัติงานด้านการเงินของ
สถานศึกษาในสังกัด สำนักงาน
คณะกรรมการการอาชีวศึกษาในเขต
กรุงเทพมหานคร งบประมาณ 2559. หน่วย
ตรวจสอบภายใน สำนักงานคณะกรรมการการ
อาชีวศึกษา กระทรวง ศึกษาธิการ. 2559.


[8] มนต์ชัย เทียนทอง. นวัตกรรมการเรียนการ
สอนด้วยคอมพิวเตอร์. (Innovation :
Computer-based Learning and
Teaching.) กรุงเทพฯ : บริษัทแดเน็กซ์
อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น จำกัด. 2556.
[9] ช่อผกา บรรทะโก. การบริหารความเสี่ยง
ด้านการเงินของสถานศึกษาระดับการศึกษา
ขั้นพื้นฐานในเขตอำเภอธาตุพนม จังหวัด
นครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ;
ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 : กันยายน– ธันวาคม 2558.
[10] ณัฎฐชา สระใหญ่. สภาพการบริหารงาน
การเงินและพัสดุของโรงเรียนในสังกัด
องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ มหาบัณฑิต.
อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏ
อุบลราชธานี. 2555.
[11] สนอง บุญเพิ่ม. ปัญหาในการบริหาร
งบประมาณขององค์กรปกครองท้องถิ่นใน
เขตอำเภอนํ้าขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี.
วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม 2556.
[12] เบญจา ศิริผล. การพัฒนารูปแบบการ
บริหารงบประมาณและสินทรัพย์ใน
โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา. วารสาร
การศึกษาและการพัฒนาสังคม ปีที่ 10
ฉบับที่ 1 ปีการศึกษา 2557. คณะ
ศึกษาศาสตมหาวิทยาลัยบูรพา.
[13] เสฐียรพงษ์ ศิวินา. รูปแบบการนำแผน
เชิงกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติของหน่วยบริการ
ปฐมภูมิอำเภอเกษตรวิสัยจังหวัดร้อยเอ็ด.
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัด
ขอนแก่น.2556.


[14] สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอก
เงิน. รายงานการติดตามผลการดำเนินงาน
แผนงาน/โครงการตามแผนปฏิบัติการและ
แผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปี
งบประมาณ พ.ศ.2560. ส่วนการ
งบประมาณกองนโยบายและยุทธศาสตร์.
กรุงเทพฯ, 2560.
[15] กรมส่งเสริมสหกรณ์. รายงานผลติดตาม
ตรวจสอบการดำเนินงานโครงการตาม
แผนปฏิบัติงานและงบประมาณ. กรุงเทพฯ.
2560.
[16] พัชรินทร์ จันทร์แจ้ง. การพัฒนาคู่มือการ
เบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจัดโครงการบริการ
วิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
รายงานวิจัยสถาบันบูรณาการงานวิจัยกับงาน
ประจำ R to R. มหาวิทยาลัยราชภัฏ
นครปฐม. 2559.
[17] วิไลพร ธราพิทักษ์กุล. รายงานวิจัยการศึกษา
พัฒนาระบบงานการเงินในคณะศิลปกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช
มงคลล้านนาภาคพายัพเชียงใหม่. 2554.