ระบบทะเบียนหัตถการหน่วยหัตถการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลบึงกาฬ

Main Article Content

สุขสันต์ สุทธิเสน

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบทะเบียนหัตถการหน่วยหัตถการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลบึงกาฬ และประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับบริการต่อการใช้งานระบบทะเบียนหัตถการหน่วยหัตถการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลบึงกาฬ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) ระบบทะเบียนหัตถการ หน่วยหัตถการแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลบึงกาฬ 2) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับบริการต่อระบบทะเบียนหัตถการหน่วยหัตถการแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลบึงกาฬ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เข้ารับบริการหัตถการหน่วยหัตถการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลบึงกาฬ จำนวน 100 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย คือ ปีการศึกษา 2561 การวิเคราะห์สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) การประเมินคุณภาพของผู้เชี่ยวชาญต่อระบบทะเบียนหัตถการหน่วยหัตถการแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลบึงกาฬ มีระดับค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\mu =4.21, gif.latex?\sigma= 0.21) 2) ความพึงพอใจของผู้เข้ารับบริการต่อระบบทะเบียนหัตถการหน่วยหัตถการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลบึงกาฬ โดยภาพรวม มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\mu= 3.87,gif.latex?\sigma= 0.69) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความถูกต้องและการประมวลผล อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\mu= 4.36, = 0.24) รองลงมา คือ ด้านประสิทธิภาพและประโยชน์ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\mu= 4.35, gif.latex?\sigma= 0.43) ด้านความปลอดภัยในการใช้งาน อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\mu= 4.30, gif.latex?\sigma= 0.21) ด้านการออกแบบและจัดรูปแบบ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\mu = 4.05, gif.latex?\sigma= 0.19) และด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยน้อยสุด คือ ด้านการใช้งานทั่วไป โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\mu = 3.99, gif.latex?\sigma= 0.30)


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ. (2550). เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT). กรุงเทพฯ : ดอกหญ้ากรุ๊ป. หน้า 11-12.
[2] พุทธินันท์ พินศิริกุล. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้บริการทางการแพทย์แผนไทยประเภทการนวดไทยของประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาลัยศิลปากร. หน้า 3.
[3] ประชาสันต์ แว่นไธสง. (2555). การลดระยะเวลาการให้บริการสำหรับโรงพยาบาลทางจิตเวชด้วยเทคนิคการจำลอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาการสารสนเทศมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. หน้า ก.
[4] คัทลิยา วสุธาดา. (2560). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานเพื่อลดระยะเวลารอคอยการรับบริการในผู้ป่วยโรคเรื้อรังศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองท่าช้าง จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. หน้า ก.
[5] ชนิญญา ชัยสุวรรณ. (2555). การบริหารจัดการในการให้บริการแพทย์แผนไทยเพื่อการชะลอวัยของสถานบริการสุขภาพ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสันติศึกษาปริทรรศนคณะวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. หน้า ก.
[6] ณัฐวรรณ วรพิสุทธิวงศ์. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองด้วยการแพทย์แผนไทยของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. หน้า ก.