คุณภาพการศึกษา ของสถาบันการอาชีวศึกษาและสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร

Main Article Content

รศ.ดร.ศักดิ์ กองสุวรรณ

บทคัดย่อ

สถาบันการอาชีวศึกษาและสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร เป็นองค์กรรัฐที่ถือกำเนิดขึ้นใหม่ตามเจตนารมณ์
ของพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ.2551 อันเนื่องจากมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการปฏิรูปอาชีวศึกษา และกระจายอำนาจในการบริหารงานส่วนราชการ ให้มีความคล่องตัว และเหมาะสมกับแต่บริบทของพื้นที่ เพื่อตอบสนองการผลิตกำลังคนเข้าสู่ตลาดแรงงาน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศซึ่งมีความแตกต่างกัน เมื่อสถาบันการอาชีวศึกษาได้เริ่มมี
การจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี สายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ ครั้งแรกในปีการศึกษา 2556 และมีการพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ของสถาบันการอาชีวศึกษา ที่ต้องบริหารจัดการหลักสูตรระดับอุดมศึกษา ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี และมาตรฐานอุดมศึกษา เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพและได้รับการรับทราบหลักสูตร รับรองวุฒิ และสำคัญที่สุดคือมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของตลาดแรงงานและสังคม  ตามที่ ศศิธร วชิรปัญญาพงศ์ [1] ได้กล่าวถึงประเด็นในเรื่อง สถาบันการศึกษาทำหน้าที่มุ่งเน้นความรู้ ดังนั้นสังคมจึงคาดหวังให้สถาบันการศึกษาเป็นองค์การที่มีคุณภาพ สถาบันการศึกษาจึงต้องตื่นตัวในการบริหารสถานศึกษา ด้วยการจัดการความรู้ มุ่งพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศ และให้ความสำคัญต่อการประเมินผลลัพธ์ของการศึกษาด้วยการประกันคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะสถาบันการอาชีวศึกษาที่ต้องสร้างภาพลักษณ์ของปริญญาอาชีวศึกษาด้วยวิธีที่ดีที่สุดคือ “คุณภาพการศึกษา” 

Article Details

บท
บทความพิเศษ

References

[1] ศศิธร วชิรปัญญาพงศ์, "การศึกษาวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของการจัดการความรู้ และองค์การแห่งเรียนรู้
ต่อการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา," Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, ปีที่ 9,
ฉบับที่ 3, หน้า 148-158, 2556.
[2] สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ, "แผนปฏิรูปเร่งด่วนแก้ปัญหาเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและการ
ประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก," กรุงเทพ, 2559.
[3] ศรีชัย พรประชาธรรม, "วงศาวิทยาว่าด้วยระบบการศึกษาไทย," มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ., กรุงเทพ, 2547.
[4] เสริมศักดิ์ กิตติปาลวรรธก์ และ จุมพล หนิมพานิช,"วาทกรรมนโยบายประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาของ
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา," สักทอง:วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, ปีที่ 22,
ฉบับที่ 1, หน้า 98-106, 2559.
[5] บุรพร กำบุญ และชลกนก โฆษิตคณิน, "การมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรทางการศึกษา
มหาวิทยากรุงเทพธนบุรี," วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University, ปีที่ 10, ฉบับที่ 1, หน้า
1746-1757, 2560.
[6] "รูปแบบปัจจัยองค์การที่ส่งผลต่อการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา วิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี," วารสารศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลับขอนแก่น, ปีที่ 39, ฉบับที่ 3, หน้า 55-68, 2559.
[7] ธัญญพัทธ์ ปฐมวัฒนานุรักษ์ และบุญมาก ศิริเนาวกุล, "ธรรมาภิบาลกับการบริหารงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
ของมหาวิทยาลัย ในเขตกรุงเทพมหานคร," วารสารวิจัยราชภัฏ พระนคร , ปีที่ 11, ฉบับที่ 2, หน้า 184-200, 2559.
[8] สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม, 2562. [Online].
Available: http://www.mua.go.th/users/bhes/.[เปิดเมื่อ 9 กรกฎาคม 2562].