การจัดการอาชีวศึกษาเพื่อสร้างผู้ประกอบการ การจัดการอาชีวศึกษาเพื่อสร้างผู้ประกอบการ

Main Article Content

นริศรา ทองยศ

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาการจัดการอาชีวศึกษาเพื่อสร้างผู้ประกอบการ 2) เพื่อสร้างแนวทางในการสร้างผู้ประกอบการของสถานศึกษา  สังกัดสำนักงาคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ใช้การวิจัยแบบเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยกรณีศึกษา (Case study Research) โดยศึกษาวิทยาลัยการอาชีพขอนแก่น แหล่งข้อมูลในการศึกษาคือ 1. แหล่งบุคคล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียนนักศึกษา 2. ข้อมูลเอกสาร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง 2) แบบวิเคราะห์เอกสาร โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยด้วยวิธี การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation) จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) เพื่อนำมาสรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า การจัดการอาชีวศึกษาเพื่อสร้างผู้ประกอบการอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ 1. การวางแผน มี 2 ด้าน คือ 1) มีวิสัยทัศน์และแผนธุรกิจ (Vision and the Business Plan) 2) มีแผนการตลาด (Marketing) 2. การจัดองค์การ มีทั้งหมด 3 ด้าน คือ 1) มีความร่วมมือ (Cooperation)  2) เน้นการใช้นวัตกรรม (innovation) 3) มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity Thinking) 3. การดำเนินการ มี 2 ด้าน คือ 1) มีการกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจ  2) มีการนิเทศ  4. การควบคุม มี 2 ด้าน คือ 1) การสอนงานและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) 2) กำกับ ติดตาม และประเมินผล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

(2554). ยุทธศาสตร์ “2555”

กระทรวงศึกษาธิการ ด้านการอาชีวศึกษา.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2545). การบริหาร

หลักการ ทฤษฎี ประเด็นทางการศึกษาและ

บทวิเคราะห์ องค์การศึกษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่

. กรุงเทพฯ : พิมพ์พิสุทธ์.

สุทธิชัย ผ่านสุวรรณ. (2559). รูปแบบ

ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยคุณภาพครู

ที่ส่งผลต่อคุณลักษณะของนักเรียนในช่วงต้น

ของศตวรรษที่ 21. วารสารมหาวิทยาลัย

นครพนม, 6(3), (น. 69-77).

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2545).

องค์การและการจัดการ (Organization

and Management : O & M). กรุงเทพฯ :

ธรรมสาร.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

(2555). การกำหนดนโยบายเป้าหมายการ

ผลิตและแผนพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

(2551). เส้นทางอาชีวะสู่เถ้าแก่น้อย.

กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการ

การอาชีวศึกษา.

สุวิทย เมษินทรีย. (2559). ทรัพยสินทาง

ปญญากับ Thailand 4.0

Frederick, H. H., Kuratko, D. F., &

Hodgetts, R. M. 2007.

Entrepreneurship: Theory, Process

and Practice. Australia: Thomson.

Hatten, T. S. (2009). Small Business

Management: Entrepreneurship and

Beyond (4th ed). Ohio: South-

Western, USA.

McMullen, J. S., & Shepherd, D. A.

(2006). Entrepreneurial action and the

role of uncertainty in the theory of

the entrepreneur. Academy of

Management review, 31(1), 132-152.

สมเกียรติ อินทวงศ์ และคณะ. (2557). การ

พัฒนารูปแบบการบริหารศูนย์บ่มเพาะเพื่อ

สร้างผู้ประกอบการของสถานศึกษา สังกัด

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ประมวล วิลาจันทร์. (2555). การพัฒนา

รูปแบบการบริหารกิจการนักเรียนนักศึกษา

ของสถาบันการอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงาน

คณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์

กศ.ด.ม พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พิชัย ฉันทลาภ. (2546). ปัจจัยที่มีผลต่อการ

ปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้าเขต2

ภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช.

วิทยานิพนธ์ บธ.ม. นครศรีธรรมราช :

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

Allen, N. Berger; & et al. (2005).

Corporate Governance and Bank

Performance: A Joint Analysis of the

Static Selection, and Dynamic Effects

of Domestic Foreign, And State

Ownership. Journal of Banking

& Finance. 29(8-9), 2179-2221 ;

August - September.

McKinsey Global Institute. (1998).

Driving Productivity and Growth in the

U.K. Economy McKinsey & Company,

Washington, D.C.

Cunningham, S. (2004). The creative

industries after cultural policy : A

genealogy and some possible

preferred futures. International

Journal of Cultural Studies, 7(1),

–115.

ชุติภา โอภาสานนท์. (2543). ก้าวสู่ความ

เป็นผู้ประกอบการ. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริม

อุตสาหกรรม,กระทรวงอุตสาหกรรม.

Boyle, J. (2002). Working faster,

better, cheaper : a federal research

agency in transition (Doctoral

dissertation, NASA).

Kelly, T. (2007). The art of innovation:

leassons in creativity from IDEO,

America’s leading design frm.

Random House LLC.

ธีรวงศ์ อาภรณ์รัตน์. (2559). ความต้องการ

จำเป็นในการบริหารจัดการสถานศึกษา

ประเภทอาชีวศึกษาสังกัด มูลนิธิซาเลเซียน

แห่งประเทศไทยโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการ

บริหารแบบสมดุล. วารสาร ศึกษาศาสตร์

มสธ., 9(2), 77-95.

ศุภวรรณ สัจจพิบูล. (2560). แนวคิดการ

นิเทศเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้

ในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาวิทยาลัย

ศิลปากร ฉบับภาษาไทย, 37(1) : 203-222.

ศักดิ์ชาย รักการ. (2560). การพัฒนา

กระบวนการกำกับและติดตามโครงการจ้าง

ปรึกษาแนะนำธุรกิจขนาดกลางและขนาด

ย่อม. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต. 7(1),

-91.