รูปแบบการส่งเสริมการปฏิบัติงานของพนักงานวิทยาลัยเทคนิคปากป่าสัก สาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รูปแบบการส่งเสริมการปฏิบัติงานของพนักงานวิทยาลัยเทคนิคปากป่าสัก สาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

PhengPhan Phommahan
ธนกฤต ทุริสุทธิ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและความต้องการพัฒนาการปฏิบัติงานของพนักงานวิทยาลัยเทคนิคปากป่าสัก สาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
2) กำหนดรูปแบบการส่งเสริมการปฏิบัติงานของพนักงานวิทยาลัยเทคนิคปากป่าสัก สาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 3) ประเมินรูปแบบการส่งเสริมการปฏิบัติงานของพนักงานวิทยาลัยเทคนิคปากป่าสัก สาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพและวิจัยเชิงปริมาณ ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ประชากรในการวิจัยเชิงปริมาณ  คือ พนักงานวิทยาลัยเทคนิคปากป่าสัก สาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 185 คน ไม่มีกลุ่มตัวอย่างเนื่องเป็นการศึกษาจากประชากรทั้งหมด กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ 1) ผู้ทรงคุณวุฒิที่กำหนดรูปแบบ จำนวน 18 คน เลือกแบบเจาะจง  2) ผู้เชี่ยวชาญที่ประเมินรูปแบบ จำนวน 36 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัย ใช้ 1) แบบสอบถาม มีค่า IOC ระหว่าง 0.66-1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.906  2) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและ 3) แบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่  ค่าร้อยละค่าความถี่  ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการวิจัยพบว่า


         1. ผลการศึกษาปัญหาและความต้องการพัฒนาการปฏิบัติงานของพนักงานวิทยาลัยเทคนิคปากป่าสัก สาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พบว่า ปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง และความต้องการอยู่ในระดับมาก
          2. ผลการกำหนดรูปแบบการส่งเสริมการปฏิบัติงานของพนักงานวิทยาลัยเทคนิคปากป่าสัก สาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พบว่า รูปแบบที่ได้มีลักษณะเป็นรูปแบบข้อความ ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ กิจกรรมการพัฒนา ตัวชี้วัดและการประเมินผล มีทั้งหมด 5 ด้าน 19 โครงการ
          3. การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการส่งเสริมการปฏิบัติงานของพนักงานวิทยาลัยเทคนิคปากป่าสัก สาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน  มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า 3.51  ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมินสามารถนำไปปฏิบัติจริงได้


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พิมพ์ลักษณ์ อยู่วัฒนา, การพัฒนาบุคลากร, (พิมพ์ครั้งที่ 2), กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ใบไม้เขียว, 2557.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์, หลักในการกำหนดค่าตอบแทน, (พิมพ์ครั้งที่ 2), กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สีเขียว, 2547.

จำนรรจ์ บุญศิริ, การปฏิบัติงาน, (พิมพ์ครั้งที่ 2), กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เพื่อนดี,พ.ศ.2543.

สมหมาย นาควิเชียร, ความสัมพันธ์แรงจูงใจ, 2548. แหล่งที่มาhttp://digital_collect. lib.buu.ac.th/dcms/files/54930187.pdf (28 มีนาคม 2562).

ศรีนวลจันทร์ ผิวพรรณ. ปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสำนักงานศึกษาธิการและกีฬาแขวงไซยะ บูลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, เชียงราย : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. พ.ศ.2559.

พิชญา วัฒนรังสรรค์, การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมระดับ 4 ดาว ย่านสยามสแควร์, พ.ศ.2558. แหล่งที่มา http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/1654/1/pitchaya_watt.pdf (28 มีนาคม 2562).

คูณคำ ราชพล, ความต้องการพัฒนาตนเองของครูสายผู้สอนในมหาวิทยาลัยครูสะหวันนะเขตสังกัดกรมสร้างครู สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. พ.ศ.2550.

บุญชม ศรีสะอาด, การวิจัยเบื้องต้น, (พิมพ์ครั้งที่ 7), กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น, พ.ศ.2545.

สุดใจ ไชยอุดม, ระบบรับสมัครนักศึกษาผ่านเว็บของวิทยาลัยเทคนิคปากป่าสักสาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, พ.ศ.2556.

ทวนชัย อรุณโรจน์ และเกรียงชัย ปิ๋งประวัต, ยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังคนระดับอาชีวศึกษาของสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว ให้สอดรับกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน, นครพนม : มหาวิทยาลัยนครพนม, พ.ศ.2558.