สภาพปัญหา และความต้องการศึกษาต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความต้องการศึกษาต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 (2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพปัญหา และความต้องการศึกษาต่อ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 จำแนกตามตัวแปร เพศ ระดับผลการเรียน และรายได้ผู้ปกครอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 จำนวน 302 คน จาก 37 โรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อคำนวณหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย สถิติ ที่ใช้ทดสอบสมมุติฐาน คือ t-test, F – test (One-Way ANOVA) และเปรียบเทียบรายคู่ โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’ Method)
ผลการศึกษา พบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 มีความต้องการศึกษาต่อ ร้อยละ 88.40 โดยเลือกเรียนสายสามัญ ร้อยละ 29.21 สายอาชีพร้อยละ 70.79 2) สภาพปัญหาการศึกษาต่อของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 จำแนกตามเพศ ระดับผลการเรียน และ รายได้ผู้ปกครอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ความต้องการในการศึกษาของนักเรียนจำแนกตามเพศ ระดับผลการเรียน และรายได้ของผู้ปกครอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
คำสำคัญ สภาพปัญหาการศึกษาต่อ,ความต้องการศึกษาต่อ,นักเรียนโรงเรียนขยายโอกาส
Article Details
สงวนสิทธิ์ โดย สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1
306 หมู่ 5 ถนนมิตรภาพ หนองคาย-อุดรธานี ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 43000
โทร 0-4241-1445,0-4241-1447
ISSN : 3027-6861 (print) ISSN : 3027-687X (online)
References
2.Perrone Philip A. (1965). Values and Occupational Preference of Junior High School Girls. The Personnel and Guidance Journal 44.
3.กนกศักดิ์ ประสงค์ศิลป์. (2545). ปัจจัยในการศึกษาต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในกลุ่ม โรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาการบริหารอาชีวศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
4.กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร.
5.กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แนวทางการดำเนินงานตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ 2559. โรงพิมพ์สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร.
6.ไกรวุธ พนมพงษ์. (2544). แรงจูงใจในการเลือกศึกษาต่อสายสามัญหรือสายอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ดกับโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด. รายงานศึกษาค้นคว้าอิสระ. การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
7.เตือนใจ อารีโรจนนุกูล. (2559). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการไม่เลือกศึกษาต่อของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนประเภทขยายโอกาสที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดเชียงใหม่. วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ : เชียงใหม่.
8.ทัศนียา แสนทิพย์. (2559). การศึกษาความมีวินัยในตนเองของนักเรียนโรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสาตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
9.บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : ชมรมเด็ก.
10.พิชญ์สินี ชมพูคำ. (2542). การวิเคราะห์ความต้องการศึกษาต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสังกัดการศึกษาสงเคราะห์ในภาคเหนือ. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถิติประยุกต์ บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
11.มะแอน ราโอบ. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความคาดหวังในการศึกษาต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลและวิจัยการศึกษา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
12. สิริพร พวงมาลัย. (2543). ความต้องการการศึกษาต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดเทศบาลเมืองลำพูน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
13.อามรรัตน์ เหลืองอร่าม. (2557). แรงจูงใจการเลือกศึกษาต่อประกาศนียบัตรวิชาชีพของนักเรียน วิทยาลัยเทคโนโลยีเมืองชลบุรีบริหารธุรกิจ.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
14.อรพิณ ศิริสัมพันธ์. (2550). การศึกษาพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.