การศึกษาองค์ประกอบของการประเมินของครูพี่เลี้ยง สำหรับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในสถานศึกษา สาขาช่างอุตสาหกรรม การศึกษาองค์ประกอบของการประเมินของครูพี่เลี้ยง สำหรับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในสถานศึกษา สาขาช่างอุตสาหกรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์องค์ประกอบการประเมินของครูพี่เลี้ยงสำหรับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในสถานศึกษา สาขาช่างอุตสาหกรรม กระบวนการในการวิจัยได้ดำเนินการใน 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 เป็นการศึกษาองค์ประกอบการประเมินของครูพี่เลี้ยงต่อการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในสถานศึกษา สาขาช่างอุตสาหกรรม ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อกำหนดองค์ประกอบการประเมินของครูพี่เลี้ยง เลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากผู้บริหาร หัวหน้าหน่วยงานที่รับผิดชอบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และอาจารย์นิเทศก์ จำนวนรวม 9 คน ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์องค์ประกอบการประเมินของครูพี่เลี้ยงสำหรับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในสถานศึกษา สาขาช่างอุตสาหกรรม โดยการสำรวจความคิดเห็นด้วยแบบสอบถาม จากครูพี่เลี้ยง 1,160 คน ทำการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) ได้จำนวน 295 คน
ผลจากการสัมภาษณ์ ได้องค์ประกอบการประเมินของครูพี่เลี้ยง สำหรับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในสถานศึกษา สาขาช่างอุตสาหกรรม 3 องค์ประกอบ คือ1) การจัดทำแผนการเรียนรู้, 2) การจัดการเรียนรู้ และ 3) การวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน และผลจากแบบสอบถาม องค์ประกอบที่ 1) การจัดทำแผนการเรียนรู้ ได้ค่า KMO เท่ากับ 0.932 ซึ่งมากกว่า 0.50 สรุปได้ว่าตัวแปรทุกตัวมีความสัมพันธ์กัน, องค์ประกอบที่ 2) การจัดการเรียนรู้ ได้ค่า KMO เท่ากับ 0.794 ซึ่งมากกว่า 0.50 สรุปได้ว่าตัวแปรทุกตัวมีความสัมพันธ์กัน และองค์ประกอบที่ 3) การวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน ได้ค่า KMO เท่ากับ 0.818 ซึ่งมากกว่า 0.50 สรุปได้ว่าตัวแปรทุกตัวมีความสัมพันธ์กัน
Article Details
สงวนสิทธิ์ โดย สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1
306 หมู่ 5 ถนนมิตรภาพ หนองคาย-อุดรธานี ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 43000
โทร 0-4241-1445,0-4241-1447
ISSN : 3027-6861 (print) ISSN : 3027-687X (online)
References
ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 130 ตอนพิเศษ 156 ง, 2556, หน้า 43-56.
สายชล เทียนงาม และ บุญเรียง ขจรศิลป์, “ปัจจัยที่ส่งผลต่อลักษณะครูที่พึงประสงค์ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู”, วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, ปีที่ 5 เล่มที่ 1, พ.ศ.2556, หน้า 212-225.
วรรณทิพา รอดแรงค้า และ ภาวิณี ศรีสุข วัฒนานันท์, “ปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนิสิตสาขาการสอนวิทยาศาสตร์ ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีการศึกษา 2544”, เอกสารการประชุมทางวิชาการของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 41, พ.ศ.2546, หน้า 51-59.
วิลาวัณย์ จารุอริยานนท์, “รูปแบบการบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่”, วารสารครุ ศาสตร์, ปีที่ 42 ฉบับที่ 2, หน้า 104-116.
วรรณทิพา รอดแรงค้า และภาวิณี ศรีสุข วัฒนานันท์, “การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์วิชาชีพครูวิทยาศาสตร์”, วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขา สังคมศาสตร์, ปีที่ 29 ฉบับที่ 1, หน้า 11-25.
วชิรา เครือคําอ้าย, “การพัฒนารูปแบบการนิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมการคิดของนักเรียนประถมศึกษา”, ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, พ.ศ.2552.
ชีวัน เขียววิจิตร, รุ่งทิวา แย้มรุ่ง และ ลัดดาวัลย์ เกษมเนตร, “กระบวนการพัฒนาต้นแบบครูพี่เลี้ยงของนิสิตฝึกประสบการณ์ วิชาชีพครู”, วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ปีที่ 18 ฉบับที่ 1, หน้า198-213.
สายฝน แสนใจพรม และน้ำผึ้ง อินทะเนตร, “รูปแบบการพัฒนาบทบาทครูพี่เลี้ยงในการส่งเสริมความสามารถด้านการจัดการ เรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู”, วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, ปีที่ 20 ฉบับที่ 3, หน้า 210-223.
สายฝน แสนใจพรม และน้ำผึ้ง อินทะเนตร, “บทบาทครูพี่เลี้ยงในการส่งเสริมความสามารถด้านการจัดการเรียนรู้ของ นักศึกษา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู”, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, ปีที่ 11 ฉบับที่ 3, หน้า 134-146.