การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากภาพถ่ายดาวเทียม

Main Article Content

กนกอร บุญมี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากภาพถ่ายดาวเทียม Landsat 8 ความละเอียดภาพ 30 เมตร ทำการจำแนกภาพถ่ายดาวเทียมแบบไม่ควบคุม และวิธีการจัดกลุ่มข้อมูลแบบ K-Means ขั้นตอนการแปลและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกข้าว มี 4 ขั้นตอน คือ การดาวน์โหลดข้อมูลภาพถ่าย กระบวนการก่อนการประมวลผลภาพ การแก้ไขและเพิ่มข้อมูลพื้นที่การเพาะปลูกข้าว การวิเคราะห์ภาพ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากภาพถ่ายดาวเทียม Landsat 8 ในช่วงเดือน กันยายน 2562 พบว่า ภาพรวมภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่เพาะปลูกข้าว จำนวน 35,805,247 ไร่ จังหวัดที่มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวมากที่สุด 3 อันดับแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ จังหวัดอุบลราชธานี คิดเป็นร้อยละ 10.82 จังหวัดนครราชสีมา ร้อยละ 10.24 และจังหวัดร้อยเอ็ด ร้อยละ 8.74 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กรมการข้าว. รายงานการวิจัยการพัฒนาการจัดการระบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของศูนย์ข้าวชุมชน. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. กรุงเทพฯ. พ.ศ. 2555.
[2] แผนปฎิบัติงานโครงการภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปี 2559-2560.
สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2560. สืบค้นจาก
http://brps.ricethailand.go.th/images/PDF/strategy_group/2017/final001.pdf, 2560.
[3] สมพล สุขเจริญพงษ์ และ กสมล ชนะสุข, การพัฒนาระบบฐานข้อมูลของจังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2558. พ.ศ.2558.
[4] กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร, ยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ระยะ 20 ปี (2560-2579), กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร, วารสารสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, กรุงเทพฯ, พ.ศ. 2560.
[5] ณัฐกร ทองเพียร และคณะ, การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ร่วมกับฐานข้อมูลภูมิศาสตร์ในพื้นที่บริการ วิชาการของวิทยาลัยชัยบาดาลพิพัฒน์ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี เพื่อหาความเหมาะสมของพื้นที่เพาะปลูกของชุมชน. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2558. พ.ศ.2558.