การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมฐานสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ สำหรับครูผู้ช่วยในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาโดยวิธีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

Main Article Content

jeerasak moonkhum

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมฐานสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้สำหรับครูผู้ช่วยในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาโดยวิธีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมฐานสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้สำหรับครูผู้ช่วยในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาโดยวิธีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมฐานสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ สำหรับครูผู้ช่วยในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาโดยวิธีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ครูผู้ช่วยในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาภาคกลาง 1 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) เอกสารประกอบการฝึกอบรมฐานสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ สำหรับครูผู้ช่วยในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาโดยวิธีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม จำนวน 12 หน่วย 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบวัดความพึงพอใจของผู้เข้าอบรม   สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า เอกสารประกอบการฝึกอบรมฐานสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้สำหรับครูผู้ช่วยในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาโดยวิธีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 86.59/82.45 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เข้าอบรมหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดัชนีประสิทธิผลมีค่า 0.64 และผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจต่อการอบรมโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] วุฒิชัย กปิลกาญจน์. (2561). “ครูอาชีวศึกษา การผลิต การพัฒนาและมาตรฐานครูวิชาชีพ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จากhttps://www.matichon.co.th/education/news_880527
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, “รับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย”. (รายงานการประชุม)
[2] ศิริชัย กาญจนวาสี. (2544). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[3] บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น
[4] ปรัชญานันท์ นิลสุข. (2557). การเขียนเอกสารประกอบการสอน/ตำารา. ใน เอกสารประกอบโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนา ผลงานเข้าสู่ตำาแหน่งทางวิชาการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.