การศึกษาความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อภาพลักษณ์อาชีวศึกษา ของวิทยาลัยในสังกัดสถาบันภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1

Main Article Content

มงคล แก้วรอด

บทคัดย่อ

 การศึกษาความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อภาพลักษณ์อาชีวศึกษาของวิทยาลัยในสังกัดสถาบันภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อภาพลักษณ์อาชีวศึกษาของวิทยาลัยในสังกัดสถาบันภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1  การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) แบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภาพลักษณ์อาชีวศึกษา (Document Research) ระยะที่ 2 สัมภาษณ์เชิงลึก (In-dept Interview) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อภาพลักษณ์อาชีวศึกษาของวิทยาลัยในสังกัดสถาบันภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1  พื้นที่ทำการ ศึกษาสถานศึกษาในกลุ่มสถานบันภาคตะวันออก เฉียงเหนือ 1 ประกอบด้วย วิทยาลัยอาชีวศึกษาหนองคาย วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี วิทยาลัย เทคนิคหนองบัวลำภู วิทยาลัยอาชีวศึกษาเลย วิทยาลัยเทคนิค บึงกาฬ ตัวแทนนักเรียนศึกษา และ ผู้ปกครอง สถานศึกษาละ 1 คน รวมจำนวน 10 คน สถานประกอบการ ได้แก่ บริษัทเซ็นทรัลกรุ๊ป จำนวน 1 คน และโรงแรมรอยัลคลิปบีชพัทยา จำนวน 1 คน รวมจำนวน 2 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์


ตรวจสอบคุณภาพของแบบสัมภาษณ์ ด้วยวิธีการตรวจสอบความเที่ยงตรง โดยผู้เชี่ยวชาญ พิจารณาข้อคำถามในการสัมภาษณ์ให้ครอบคลุม เนื้อหาครบถ้วน ข้อคำถามถูกต้องเหมาะสม ตรงตามโครงสร้าง และภาษาที่ใช้เหมาะสมกับผู้ให้ข้อมูล  และการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิธีการวิจัยด้วยวิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (triangulation) จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์สรุปการวิจัย


        ผลการวิจัย การศึกษาความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อภาพลักษณ์อาชีวศึกษาของวิทยาลัยในสังกัดสถาบันภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 ตามองค์ประกอบ 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านคุณภาพนักเรียน นักศึกษา พบว่า มีความสามารถใน การปฏิบัติงาน    มีความรับผิดชอบ  มีน้ำใจ การแต่งกายสะอาด เรียบร้อย 2) ด้านการให้บริการ สังคมและชุมชนของสถานศึกษา พบว่า มีการนำความรู้ที่เรียนในชั้นเรียน ออกบริการวิชาชีพในด้านต่าง ๆ ตามสถานการณ์จริง และสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี  3) ด้านการประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ พบว่า สามารถรับรู้ข่าวสารได้หลากหลายช่องทาง เช่น แผ่นพับ วิทยุประชาสัมพันธ์ เฟสบุ๊กค์ เว็บไซด์ เป็นต้น 4) ด้านการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาและการปรับหลักสูตรสมรรถนะเพื่อการมีงานทำ พบว่า มีหลักสูตรที่หลากหลาย มีความยืดหยุ่นใน การเรียนการสอน มีการเรียนการสอนระบบทวิภาคี หลักสูตรตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานและสถานประกอบ การ 5) ด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมและ บรรยากาศของสถานศึกษา พบว่า มีการจัดห้องเรียน ห้องปฏิบัติการที่เพียงพอและทันสมัย สามารถตอบสนองการเรียน การสอนได้เป็นอย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ณรงค์ แผ้วพลสง, พลิกอาชีวะสร้างภาพลักษณ์ใหม่, 2563, [สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2563], จาก : https://www. matichon.co.th/education/news_1844188.

Helena. A. and Mario. R., The influence of university image on student behavior, International Journal of Education Management, 24, pp.73-85, 2010.

วชิรวิทย์ ยางไชย. การวิเคราะห์ภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษาตามทัศนะของนักเรียน : การวิจัยแบบผสมวิธี. ครุศาสตร์มหาบัณฑิต : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554.

นัยนา สังขะเกตุ, ภาพลักษณ์ของโรงเรียนศรีวัฒนาบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีนานาชาติตามการรับรู้ของผู้ปกครอง, วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 2551.

นริศ สุคันธวรัตน์, การยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างภาพลักษณ์สถานศึกษาอาชีวศึกษาตามกรอบแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม, ดุษฎีบัณฑิต : มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2560.

สุเทพ ชิตยวงษ์, การพัฒนาคุณภาพและสร้างความเข้มแข็งอาชีวศึกษา, 2560, [สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2563], จาก : https://www.dailynews.co.th/education/607758.

สาโรจน์ ขอจ่วนเตี๋ยว, กลยุทธ์การบริหารการประกันคุณภาพของวิทยาลัยเทคนิคสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, ดุษฎีนิพนธ์สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2557.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, เกี่ยวกับ สอศ., [สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2560], จาก : http://www.vec.go.th/>.

สมเกียรติ ขำสำราญ, การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การตลาดและภาพลักษณ์ ของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน ประเภท วิชาพาณิชยกรรมหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในจังหวัดชลบุรี, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, 2554.