ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาลอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

ทัศนีย์ ธนอนันต์ตระกูล
สุภา นาแซง
บุษบา จันทะราช
ภัทริกา ศิริสถิตย์
อรธนา บุญทองดี

บทคัดย่อ

     การศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาลอุดรธานีจังหวัดอุดรธานี มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาลอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 275 ราย ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิและใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริหารและบุคลากรภายในโรงพยาบาลอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี มีความเห็นเกี่ยวกับความเสี่ยทางด้านกลยุทธ์ อยู่ในระดับมาก คือการที่ผู้บริหารมีความรู้ความสามารถในการบริหารนโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ แผนกลยุทธ์ มีความเข้าใจในเรื่องแผนกลยุทธ์ของโรงพยาบาลอุดรธานี การเปลี่ยนแปลงนโยบายของกระทรวงมีการปรับปรุงการดำเนินงานที่ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ความเสี่ยงทางด้านการบัญชี อยู่ในระดับมาก การมีเอกสารประกอบหรือรายละเอียดการปรับปรุงรายการบัญชีประกอบใบสำคัญทั่วไปเพื่อเป็นหลักฐานสำคัญในการจัดทำงบการเงินขึ้นตรงตามความต้องการและทันต่อเวลา ความเสี่ยงทางด้านการเงิน อยู่ในระดับมาก มีการปฏิบัติงานด้วยความโปร่งใสโรงพยาบาลอุดรธานี และจัดทำทะเบียนคุมงบประมาณต่าง ๆ ภายในโรงพยาบาลอุดรธานี เพื่อตรวจสอบการจัดซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์ที่คุ้มค่าความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับมาก ภายในองค์กรต้องมีบรรยากาศในการทำงานที่เหมาะสมอยู่มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีอยู่ มีเครื่องมือ เครื่องใช้เพียงพอต่อการทำงาน เครื่องใช้มีความทันสมัยและเหมาะสมกับการใช้งาน และสภาพแวดล้อมขององค์กรเป็นแรงจูงใจในการทำงาน ความเสี่ยงทางด้านกฎหมายและข้อกำหนดผูกพันองค์กร อยู่ในระดับมาก บุคลากรรับรู้การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบ มาตรการข้อกำหนดจากต้นสังกัด บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจ ในกฎระเบียบกฎหมาย และระเบียบวินัย และมีความรู้ ความเข้าใจ วิธีการและกฎระเบียบในการตรวจสอบภายใน                                                                                                            โดยสรุป ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาลอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ดังนั้น ผู้บริหารและบุคลากรภายโรงพยาบาลอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ภายในองค์กรต้องมีบรรยากาศในการทำงานที่เหมาะสมอยู่ มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีอยู่ มีเครื่องมือเครื่องใช้เพียงพอต่อการทำงานอยู่ เครื่องใช้มีความทันสมัยและเหมาะสมกับการใช้งาน และสภาพแวดล้อมขององค์กรเป็นแรงจูงใจในการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. [สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2562]. จาก : https://www.nesdb.go.th

ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2556). กรอบการบริหารความเสี่ยงขององค์กร. [สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2562]. จาก : http://www.jba.tbs.tu.ac.th

สุมลรัตน์ พงษ์ขวัญ. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารความเสี่ยงของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. [8 ตุลาคม 2562]. จาก : https://www.tci-thaijo.org

สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์. (2562). พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 6. [1 พฤศจิกายน 2562]. จาก : http://www.ops.moc.go.th

โรงพยาบาลอุดรธานี. (2562). กลุ่มงานทรัพยากรบุคคล. [15 ตุลาคม 2562]. จาก 172.16.254.212/udh.hums/

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น, 2560.

พัชรินทร์ ขำวงษ์. (2554). การบริหารความเสี่ยงงานการเงิน บัญชีและพัสดุของสถานศึกษาภาครัฐแห่งหนึ่ง. [1 พฤศจิกายน 2562]. จาก : http://www.repository.rmutt.ac.th

อลีณา เรืองบุญญา. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการจัดทำบัญชีเกณฑ์คงค้างของผู้ทำบัญชีภาครัฐใน กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดปทุมธานี. [17 ตุลาคม 2562]. จาก : http://www.repository.rmutt.ac.th

ไพรวัลย์ คุณาสถิตย์ชัย และคณะ. (2560). การบริหารความเสี่ยงด้านการเงินของมหาวิทยาลัย ขอนแก่น. [15 ตุลาคม 2562]. จาก : http://dspace.bru.ac.th

จิราวรรณ รุ่งเรืองวารินทร์ และคณะ. (2560). การพัฒนาระบบการจัดการความเสี่ยงกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา.

สุภาพร วชิรเมธารัชต์ และคณะ. (2559). การจัดการความเสี่ยงจากการทำงานของบุคลากร โรงพยาบาลร้อยเอ็ด. [10 พฤศจิกายน 2562]. จาก : https://rsucon.rsu.ac.th/files