อิทธิพลของเถ้าชีวมวลจากโรงไฟฟ้าต่อการเกิดความร้อนและการหดตัวของคอนกรีตชนิดอัดแน่นได้ด้วยตัวเอง

Main Article Content

Mongkhon Narmluk
ธนธรณ์ คัมภีร์ยิ่งเจริญ

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการศึกษาอิทธิพลของการใช้เถ้าชีวมวลแบบไม่บดที่มีต่อการเกิดความร้อนและการหดตัวแบบออโตจีนัสของคอนกรีตชนิดอัดแน่นได้ด้วยตัวเอง ในการทดลองได้แทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ด้วยเถ้าชีวมวลแบบไม่บด ในอัตราร้อยละ 0 10 และ 20 ของน้ำหนักวัสดุประสานรวม (500 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร) สมบัติของคอนกรีตที่ศึกษาประกอบด้วย อัตราความต้องการน้ำในการผสมคอนกรีต (w/p) เวลาไหลแผ่ถึงเส้นผ่านศูนย์กลาง 500 มิลลิเมตร (t500) อุณหภูมิที่เกิดจากปฏิกิริยาไฮเดรชั่น และการหดตัวแบบออโตจีนัส ของคอนกรีต ผลงานวิจัยพบว่า เมื่อควบคุมค่าการไหลแผ่ให้เท่ากัน การแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ด้วยเถ้าชีวมวลในปริมาณเพิ่มขึ้น ทำให้ค่า w/p เพิ่มขึ้นอย่างเป็นเชิงเส้น ระยะเวลาไหลแผ่ t500 ลดลง อุณหภูมิสูงสุดที่เกิดจากปฏิกิริยาไฮเดรชั่นมีค่าต่ำลง และมีค่าการหดตัวแบบออโตจีนัสลดลง แสดงให้เห็นว่าการใช้เถ้าชีวมวลแบบไม่บดในการผลิตคอนกรีตชนิดอัดแน่นได้ด้วยตัวเองได้ สามารถช่วยลดอุณหภูมิภายในและการหดตัวแบบออโตจีนัสได้ซึ่งเป็นสาเหตุของการแตกร้าวในช่วงอายุต้นได้เป็นอย่างดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มงคล นามลักษณ์, จักรกฤษ ไพศาลโสภณ และ สมพงษ์ รุจิรเสนีย์, “อิทธิพลของเถ้าลอยต่อสมรรถนะการไหลและการหดตัว แบบออโตจีนัสของคอนกรีตชนิดอัดตัวแน่นได้เอง”, การประชุมวิชาการคอนกรีต ประจำปี ครั้งที่ 13, พ.ศ.2561 หน้า MAT55-62.

ชนานนท์ สิงห์คศิริ และ มงคล นามลักษณ์, "ผลกระทบของระยะเวลาบดเถ้าแกลบที่มีต่อการหดตัวแบบออโตจีนัสและกำลังอัด ของคอนกรีตผสมเถ้าแกลบ",วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ปีที่ 25, พ.ศ.2561, หน้า 232-241.

กฤษดา เสือเอี่ยม และ ณัฏฐ์ มากุล, “การประยุกต์ใช้ผลผลิตพลอยได้จากเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมในคอนกรีตชนิดไหลอัด แน่นได้ด้วยตัวเอง”, วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ. ปีที่ 36, พ.ศ.2556, หน้า 517-552.

ศศิธร ปราสาทหินพิมาย, ชุติมาสก์ เมืองเมืองพุทธ, อโนชา ปาลคะเชนทร์ และมงคล นามลักษณ์, “ผลของการใช้เถ้าเชื้อเพลิงชีวมวลซึ่งบดละเอียดด้วยเวลาแตกต่างกันที่มีต่อสมบัติของคอนกรีตชนิดไหลอัดตัวได้เอง”, การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ครั้งที่ 2, พ.ศ.2560 หน้า 87-99.

ชัยภักดิ์ สุวาชาติ, ธิดารัตน์ สิทธิ, พัชญาพร พีระพันธ์ และ มงคล นามลักษณ์, “ผลกระทบของเถ้าชีวมวลที่ไม่ปรับปรุง คุณภาพต่อสมรรถนะการไหล อุณหภูมิภายใน และกำลังอัดของคอนกรีตชนิดอัดตัวแน่นได้เอง”, การประชุมวิชาการคอนกรีต ประจำปี ครั้งที่ 15, พ.ศ.2563 หน้า ENV01.

Thai Industrial Standard Institute. "TIS 15 : 2555 Thai standard for Portland Cement : Part I specification". TISI, 2012.

EFNARC. “Specification and guidelines for self-compacting concrete”. European Federation for Specialist Construction Chemicals and Concrete Systems, Londres, 2002.

ASTM C157/C157M-17. "Standard Test Method for Length Change of Hardened Hydraulic-Cement Mortar and Concrete". ASTM International, 2017.

R. Rajamma, L. Senff, M.J. Ribeiro, J.A. Labrincha, R.J. Ball, G.C. Allen, and V.M. Ferreira. “Biomass fly ash effect on fresh and hardened state properties of cement-based materials”. Composites Part B, 77, pp. 1-9, 2015.

G. Sua-iam and N. Makul. “Utilization of limestone powder to improve the properties of self-compacting concrete incorporating high volumes of untreated rice husk ash as fine aggregate”. Construction and Building Materials, 38, pp.455-464, 2013.

Md. Safiuddin, J.S. West, and K.A. Soudki. “Properties of freshly mixed self-consolidating concretes incorporating rice husk ash as a supplementary cementing material”. Construction and Building Materials, 30, pp.833–842, 2012.

B.H. Nagaratnam, M.E. Rahman, A.K. Mirasa, M.A. Mannan, and S.O. Lame. “Workability and heat of hydration of self-compacting concrete incorporating agro-industrial waste”. Journal of Cleaner Production, 112, pp.882-894, 2016.

G.R. De Sensale, A.B. Ribeiro, and A. Gonçalves. “Effects of RHA on autogenous shrinkage of Portland cement astes”. Cement and Concrete Composites, 30, pp.892–897, 2008.

G. Ye, N.V. Tuan, and H. Huang, “Rice Hush Ash as smart material to mitigate autogenous shrinkage in high (ultra-high) performance concrete”, 3rd International Conference on Sustainable Construction Materials and Technology, pp.1-9, 2013.

V.T.A. Van, C. Rößler, D.D. Bui, and H.M. Ludwig. “Rice husk ash as both pozzolanic admixture and internal curing agent in ultra-high performance concrete”. Cement and Concrete Composites, 53, pp. 270–278, 2014.