อิทธิพลของเศษแก้วที่ใช้เป็นมวลรวมละเอียดบางส่วนต่อคุณสมบัติของคอนกรีตบล็อก

Main Article Content

ดร.พัชร อ่อนพรม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาคุณสมบัติของคอนกรีตบล็อกที่ใช้อัตราส่วนผสมปูนซีเมนต์ต่อทราย เท่ากับ 1 : 3 จากนั้นนำเศษแก้วมาแทนที่ทรายหยาบในอัตราส่วนการแทนที่ร้อยละ 0,10,20,30, และ 40 โดยปริมาตร ทำการหล่อตัวอย่างคอนกรีตบล็อกขนาด 8 x 16 x 5 เซนติเมตรและถอดแบบที่อายุ 24 ช.ม. จากนั้นทำการทดสอบกำลังรับแรงอัด ความหนาแน่น และอัตราการดูดซึมน้ำ ที่อายุ 7 และ 28 วัน ถ่ายภาพขยายกำลังสูงด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราดที่อายุ 28 วัน ผลการทดสอบพบว่า การใช้เศษแก้วแทนที่ทรายร้อยละ 20 เป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุด โดยมีกำลังรับแรงอัด ความหนาแน่น และอัตราการดูดซึมน้ำ ที่อายุ 7 และ 28 วัน เท่ากับ 152 และ 235 กก/ตร.ซม., 1821 และ 1800 กก./ลบ.ม. และร้อยละ 9.64 และ 8.42 ตามลำดับ จากผลการทดลองสรุปได้ว่า สามารถใช้เศษแก้วแทนที่ทรายในอัตราส่วนผสมอิฐบล็อกในปริมาณที่เหมาะสมได้


 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[ออนไลน์]. (2557). เศษแก้ว. ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ. [สืบค้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2561]. จาก : https://www.mtee.or.th.

Maschio S., Tonello G., and Furlani E. (2013). Recycling Class Cullet from Waste CRTs for the Production of High Strength Mortors. Waste Management : 1-8.

Turgut P. and Yahlizade E.S. (2009). Research into Concrete Blocks with Waste Glass. Environmental Engineering. 1(4) : 203-209.

รุงโรจน์ ภักภิระ และ สนธยา ทองอรุณศรี. (2556). ผลกระทบของเศาแก้วต่อกำลังอัดและการต้านทานการขัดสีของพื้นหินขัด. การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 5 : 554-561.

Mekinnor G.. (2002). Specification for Crushed Glass as Fine Aggregate or Filler Aggregate for use in Concrete. Stone way Concrete.

[ออนไลน์]. (2552). การพัฒนาอิฐมวลเบาจากเศษแก้ว. วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ. [สืบค้นเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2561]. จาก

http://lib3.dss.go.th

[ออนไลน์]. (2557). การวิเคราะห์ส่วนคละของมวลรวมละเอียด ความถ่วงจำเพาะและการดูดซึมน้ำของมวลละเอียด. [สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2561]. จากhttp://tunjai.com/sumfile/index.php.