การออกแบบและสร้างเครื่องจ่ายเจลแอลกอฮอล์แบบอัตโนมัติ

Main Article Content

อนุชา ดีผาง
นิติคม อริยพิมพ์

บทคัดย่อ

 บทความนี้นำเสนองานวิจัยเชิงนวัตกรรมโดยวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างเครื่องจ่ายเจลแอลกอฮอล์แบบอัตโนมัติ โดยคำนึงถึงรูปแบบการใช้งานตามอาคารสำนักงานต่าง ๆ ที่มีผู้คนเข้าออกตลอดทั้งวัน การออกแบบจึงเน้นไปที่ความทนทานต่อการใช้งานแบบต่อเนื่อง ตัวเครื่องมีความสูง 1 เมตร ทำจากเหล็กกล่องขนาด 1 นิ้ว มีอุปกรณ์ตรวจจับวัตถุแบบ  อินฟาเรดสำหรับตรวจจับมือที่ยื่นเข้ามารับเจลแอลกอฮอล์ เพื่อผู้ใช้งานไม่ต้องสัมผัสกับอุปกรณ์เป็นการลดความเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อโรคต่าง ๆ ใช้ดีซีเกียร์ปั๊มขนาดเล็กทำหน้าที่ดูดและจ่ายเจลแอลกอฮอล์ ควบคุมปริมาณเจลแอลกอฮอล์เพื่อไม่ให้จ่ายเจลแอลกอฮอล์มากหรือน้อยจนเกินไปโดยการกำหนดระยะเวลาทำงานของดีซีเกียร์ปั๊ม จากการทดลองในอาสาสมัครจำนวน 20 คน พบว่า ปริมาณเจลแอลกอฮอล์ ที่ผู้ทดลองส่วนใหญ่พอใจอยู่ที่ปริมาณ 1 มิลลิกรัม ซึ่งใช้เวลาในการทำงานของปั๊มจ่ายเจลแอลกอฮอล์เท่ากับ 158 มิลลิวินาที     มีหลอดแอลอีดีแสดงสถานะขณะเครื่องทำงานและขณะกำลังจ่ายเจลแอลกอฮอล์ควบคุมและประมวลผลด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์อาร์ดูโนนาโน    ผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญด้วยแบบประเมินที่มีเกณฑ์การให้คะแนนความพึงพอใจและแบบตอบคำถามปลายเปิด เป็นเครื่องมือ พบว่า  ผลประเมินได้รับคะแนนสูงสุด 2 ข้อ คือ ด้านประสิทธิภาพการทำงาน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 5 คะแนน อยู่ในระดับ มากที่สุด และด้านความมีประโยชน์ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 5 คะแนน อยู่ในระดับ มากที่สุด โดยได้คะแนนน้อยที่สุดในด้านความเหมาะสมสวยงามของตัวเครื่อง 3.00 คะแนน อยู่ในระดับ ปานกลาง และมีคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ย 4.47 คะแนน อยู่ในระดับ มาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Babak Rashidi. (2014). Effectiveness of an extended period of flashing lights and strategic signage to increase the salience of alcohol-gel dispensers for improving hand hygiene compliance. American Journal of Infection Control, 44(7), 782-785. https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0196655316000390

Gianni D'Egidio, Rakesh Patel, and Paul Milgram. (2014). A study of the efficacy of flashing lights to increase the salience of alcohol-gel dispensers for improving hand hygiene compliance. American Journal of Infection Control, 42(7), 852-855. https://reader.elsevier.com/reader/sd/pii/S0196655314007287?token=D8B63803A64B45055A6A267F6AEC014D201F3FFF8974A1FAB1B6DFFCD9EB99B11E28B3D447AE5D17B5022EFFD1958C64

ดอนสัน ปงผาบ. (2553). ไมโครคอนโทรลเลอร์และการประยุกต์ใช้ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ ส.ส.ท.

เดชฤทธิ์ มณีธรรม. (2560). คัมภีร์การใช้งาน ไมโครคอนโทรลเลอร์ Arduino (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

นภัทร วัจนเทพินทร์. (2545). อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. (2563). ความรู้ COVID 19, สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2563. จาก. https://www.gj.mahidol.ac.th/main/covid19/covid19is/

องค์การอนามัยโลก. (2563). Coronavirus disease (COVID-19) questions and answers, สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2563. จาก. https://www.who.int/thailand/emergencies/novel-coronavirus-2019/q-a-on-covid-19

กรมควบคุมโรค. (2563). สถานะการณ์โควิดในประเทศไทย, สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2563. จาก. https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php