แนวทางการพัฒนาโครงการอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาชนบทของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบุรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

Main Article Content

ภาวิณี ศูนย์กลาง
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิตของโครงการ อาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาชนบท 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาโครงการอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาชนบทของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบุรี สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ผู้บริหาร ครูผู้สอนครูที่ปรึกษาประจำกลุ่มบุคลากรทางการศึกษา นักเรียนและศิษย์เก่า จำนวน 163 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า (1) ผลการประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ของโครงการอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาชนบท โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) แนวทางการพัฒนาโครงการอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาชนบท พบว่า ด้านบริบท (C) ผู้บริหารควรกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการอย่างชัดเจน พัฒนาความรู้และความสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ด้านปัจจัยนำเข้า (I) พบว่า ควรสนับสนุนการทำสื่อไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนและรับสมัครนักเรียนซึ่งเป็น เกษตรกรผู้ที่ประกอบอาชีพทางการเกษตร เพื่อให้ได้รับการพัฒนาตรงตามจุดประสงค์ของโครงการ ด้านกระบวนการ (P) พบว่า ผู้บริหารควรกำหนดเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของผู้เรียน และรายงานผลต่อผู้บังคับบัญชาเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา,”พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551”. สำนักพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว ครั้งที่ 1, พ.ศ. 2551.

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบุรี, “รายงานผลการประเมินโครงการอาชีวศึกษา” ครั้งที่ 1, พ.ศ. 2560.

D. L. Stufflebeam and A. J. Shinkfield, “Systematic evaluation”, Kluwer-Nijhoff, (2007) Inc., 2007, pp. 169-172.

V. Krejcie and W. Morgan, “Dtermining sample size for research activities”, Athlone, 1970,

pp. 256-279.

บุญชม ศรีสะอาด, “การวัดผลและประเมินผล” ครั้งที่ 5, สำนักสุวีริยาสาสน์, พ.ศ. 2556.

สุวิมล ปันนาง, “การประเมินโครงการอาชีวศึกษาเพื่อพัฒนาชนบทของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตาก” ครั้งที่ 1, พ.ศ. 2559.

มนิดา เจริญภูมิ, “การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนแวงน้อยศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25” ครั้งที่ 1, พ.ศ. 2559.

รำไพ แสงนิกุล, “การประเมินโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย : กรณีศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2” ครั้งที่ 1, พ.ศ. 2559.

สุปัญญา ชาดง, การประเมินหลักสูตรจินตคณิต โดย CIPPIEST Model, พ.ศ. 2561.

วิทูลย์ สุธรรมมา, “การประเมินโครงการอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน จังหวัดมุกดาหาร โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPPIEST Model” ครั้งที่ 1, พ.ศ. 2557.