รูปแบบ รูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ทดสอบและรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและชุมชน วิทยาลัยสารพัดช่างเพชรบูรณ์ รูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ทดสอบและรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและชุมชน วิทยาลัยสารพัดช่างเพชรบูรณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ทดสอบและรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและชุมชน วิทยาลัยสารพัดช่างเพชรบูรณ์ และวัตถุประสงค์เฉพาะ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางการบริหารจัดการศูนย์ทดสอบฯ 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ทดสอบฯ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ทดสอบฯ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ทดสอบฯ ดำเนินการวิจัยเป็น 4 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางการบริหารจัดการศูนย์ทดสอบและรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพฯ ตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ทดสอบและรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพฯ ตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบ โดยโครงการทดลองใช้รูปแบบซึ่งมีกิจกรรมภายใต้โครงการ จำนวน 4 กิจกรรม กำหนดระยะเวลา 1 ปีการศึกษา เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2562 ถึงเดือนมีนาคม 2563 ตอนที่ 4 ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ทดสอบและรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพฯ โดยผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน ผู้เรียน และชุมชน ได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้แบบสอบถามและแบบรายงาน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพปัจจุบันเกี่ยวกับการบริหารจัดการศูนย์ทดสอบฯ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง
- รูปแบบที่สร้างขึ้นมี 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) หลักการและจุดมุ่งหมาย 2) กลไกการดำเนินงาน 3) กระบวนการบริหารจัดการ และ 4) การติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
- ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ทดสอบฯ โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2562 ถึงเดือนมีนาคม 2563 ดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการทดลองใช้รูปแบบ ผลการทดลองพบว่า ความสำเร็จของโครงการในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และความพึงพอใจที่มีต่อโครงการในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
- ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ทดสอบฯ พบว่า
4.1 ผลการประเมินศูนย์ทดสอบและรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพฯ โดยสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) พบว่า ความพร้อมของวิทยาลัยสารพัดช่างเพชรบูรณ์ ผ่านหลักเกณฑ์การประเมินทุกด้าน
4.2 ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนสาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวย ที่มีสมรรถนะด้านความรู้ ทักษะ และ เจตคติในการทำงาน ปีการศึกษา 2562 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า ปีการศึกษา 2561 คิดเป็นร้อยละ 11.13
4.3 ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการบริหารจัดการศูนย์ทดสอบฯ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
4.4 จำนวนผู้เรียนและชุมชนที่ผ่านการทดสอบฯ ได้มีงานทำ/ต่อยอดทำธุรกิจประสบผลสำเร็จ มีจำนวนรวม 112 คน คิดเป็นร้อยละ 100
4.5 จำนวนผู้มาใช้บริการศูนย์ทดสอบฯ หลังใช้รูปแบบ พบว่า ปีการศึกษา 2562 จำนวน 79 คน และปีการศึกษา 2563 จำนวน 112 คน มีจำนวนผู้มาใช้บริการเพิ่มขึ้น จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 41.77
4.6 ความคิดเห็นของชุมชนที่มีต่อการบริหารจัดการศูนย์ทดสอบฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์ โดย สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1
306 หมู่ 5 ถนนมิตรภาพ หนองคาย-อุดรธานี ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 43000
โทร 0-4241-1445,0-4241-1447
ISSN : 3027-6861 (print) ISSN : 3027-687X (online)
References
ข้อบังคับสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกหนังสือรับรองแก่องค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ พ.ศ. 2561. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษ 50 ง, 27 กุมภาพันธ์ 2561.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ไมตรี บุญทศ. (2554). การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อการประกันคุณภาพภายในที่ส่งผลต่อคุณภาพโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ. (2560). มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์กรมหาชน).
สุธิดา หอวัฒนกุล. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสมรรถนะทางวิชาชีพของบัณฑิต ในสาขาที่เป็นความต้องการของตลาดแรงงาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Brown, W.B. and Moberg, D. J. (1980). Organization Theory and Management: A Macro Approach. New York: Wiley & Sons.
Deming, William Edwards, 1995. Out of the Crisis. Cambridge: Massachusets Institute of Technology Press.
Keeves, P.J. (1988). Educational research, methodology, and measurement : An international handbook. Oxford: Pergamon Press.
Monica Edwards. (2009). “Luis Manuel Sanchez-Ruiz and Carlos Sanchez-Dıaz.” In Proceeding of IEEE. Volume 97.No.10 (October 2009).
Strickland, A. W. (2006). Addie. Idaho State University College of Education Science, Math & Technology Education. Retrieved March 2, 2017. From http/www.ed.isu. edu/addie/index.htm
Tore Hole and Vana Kamtisiou. (2009) “Modeling of Central concepts of Competency driven learning.” IEEE international conferences and advance Learning Technology.