การออกแบบปรับปรุงเครื่องอุ่นน้ำป้อนแบบแผ่น สำหรับเครื่องล้างขวด

Main Article Content

ถาวร ราชรองเมือง
เพชร แสนบริสุทธิ์
มนัส ดิ ลกลาภ
อนุสรณ์ ตวงกระสินธุ์

บทคัดย่อ

โครงงานวิจัยเครื่องอุ่นน้ำป้อนแบบแผ่น สำหรับเครื่องล้างขวดโรงงานสุรา บริษัทเทพอรุโณทัย จำกัด  ซึ่งเป็นการศึกษาผลของตัวแปรทางด้านอัตราการไหลของน้ำป้อน  อุณหภูมิทางเข้าของน้ำสุราและน้ำป้อน ที่มีผลต่อค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนของเครื่องอุ่นน้ำป้อนแบบแผ่น สำหรับเครื่องล้างขวด  โดยออกแบบพื้นที่ถ่ายเทความร้อนได้ค่าเท่ากับ 12.542  ซึ่งมีวัสดุที่นำมาใช้ทำแผ่นแลกเปลี่ยนความร้อนคือเหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless Steel 304)  ชนิดแบบแผ่นอัดขึ้นรูปให้เกิดส่วนนูนและส่วนเว้า ประกอบเป็นชุดแลกเปลี่ยนความร้อน  ซึ่งมีขนาดความกว้าง 32   x ความยาว 85  และมีขนาดพื้นที่แลกเปลี่ยนความร้อน มีความกว้าง  30  x ความยาว 60  อัดซ้อนกันรวมจำนวน 70 แผ่น   เครื่องอุ่นน้ำป้อนแบบแผ่น ค่าอัตราการถ่ายเทความร้อนเท่ากับ 204.6284  ค่าประสิทธิผลเท่ากับ 77 เปอร์เซ็นต์ จะเห็นได้ว่าเครื่องอุ่นน้ำป้อนแบบแผ่น มีสมรรถนะดี โดยทำให้อุณหภูมิน้ำป้อนเพิ่มขึ้น 34 องศาเซลเซียส จากอุณหภูมิปกติที่ 28 องศาเซลเซียส เพิ่มเป็น 62 องศาเซลเซียส จึงสามารถประหยัดพลังงานไอน้ำที่ใช้ในการล้างขวดได้เท่ากับ 0.0103 ตันต่อพันขวด หรือเทียบเท่า 1.81 ตันต่อวัน คิดเป็นเงิน 426,523.84 บาท  และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเครื่องล้างขวดได้ดี ทำให้ขวดสะอาดเร็วล้างขวดได้ปริมาณที่มากขึ้น  โดยใช้พลังงานที่น้อย และจะสามารถคืนทุนในระยะเวลา 0.80 ปี หรือ 11 เดือน (155 วัน)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นักสิทธ์ คูวัฒนาชัย (2533). การถ่ายเทความร้อน. ปรับปรุงและพิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ. โครงการตำราเรียน สำนักพิมพ์ ฟิสิกส์เซ็นเตอร์

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2551). สถิติการขอขึ้นทะเบียนการใช้หม้อน้ำของอุตสาหกรรม. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มงานวิศวกรรมเครื่องกล

เกษม เสรีภาพสากล (2547). ระบบการนำความร้อนกลับมาใช้ของน้ำทิ้งหม้อไอน้ำ สาขาวิศวกรรมการอาหาร ภาควิชาวิศวกรรมการอาหาร วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Ph.D. 129 หน้า

บริษัท วันไทยอุตสาหกรรมอาหาร จํากัด. (2550). การนำความร้อนทิ้งจากปล่องไอเสียหม้อน้ำมาอุ่นน้ำป้อน. กรมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานกระทรวงพลังงาน.

อุทัย ผ่องรัศมี. (2553). การออกแบบอุปกรณ์อุ่นน้ำป้อนแบบท่อขด สำหรับหม้อน้ำแบบความร้อนไหลผ่านทางเดียว. ศูนย์วิจัยพลังงาน. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.