การสร้างและหาประสิทธิภาพเครื่องถอดยางล้อรถบรรทุก

Main Article Content

ชินภัทร แก้วโกมินทวงษ์
สุทธิภัทร ทองอู่ฉาง
ฮ่าดิ่ง เกียน
อนุสรณ์ ตวงกระสินธุ์
สมบัติ อาสนานิ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัย เรื่องการสร้างและหาประสิทธิภาพเครื่องถอดยางล้อรถบรรทุก มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบและสร้างเครื่องถอดยางล้อรถบรรทุก 2) เพื่อหาประสิทธิภาพการใช้งานเครื่องถอดยางล้อรถบรรทุก 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานเครื่องถอดยางล้อรถบรรทุก ผลการวิจัย พบว่า ผลการออกแบบและสร้างเครื่องถอดยางล้อรถบรรทุก ตัวเครื่องมีขนาดกว้าง x ยาว x สูง เท่ากับ 60 x 100 x 35 เซนติเมตร และติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้ากับโครงสร้าง เช่น มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 3 แรงม้า เกียร์ทดรอบ 1:60 แขนจับขอบกระทะล้อ แกนเพลาวางกระทะล้อ     พูลเลย์ สายพานส่งกำลัง และมีสวิตช์ควบคุมการทำงาน ของมอเตอร์ไฟฟ้า ประสิทธิภาพการใช้งาน เมื่อทำการทดลองหาประสิทธิภาพกับรถบรรทุก 10 ล้อ เพลาเดียว ยี่ห้อ ISUZU รุ่น FVM 300/240 แรงม้า โดยกำหนดความเร็วรอบของเกียร์ทดรอบไว้ที่ 12 รอบ/นาที และทำการทดลอง 3 ครั้ง เปรียบเทียบกับการใช้แรงคนช่วยถอดและใส่ยางล้อรถบรรทุก 10 ล้อ โดยทำการทดลอง 3 ครั้ง กับรถคันเดียวกัน พบว่า การถอดและใส่ยางล้อรถบรรทุก โดยใช้เครื่องถอดและใส่ยางล้อรถบรรทุก นั้นมีประสิทธิภาพดีกว่า ทำการถอดและใส่ยางได้เร็วกว่าและใช้เวลาน้อยกว่า  เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้แรงงานคน ผลการทดลองเปรียบเทียบกับเวลา พบว่า ค่าเฉลี่ยการใช้แรงงานคนช่วยถอดยางล้อรถบรรทุก เท่ากับ 1.12 นาที และค่าเฉลี่ยในการใส่ล้อรถบรรทุก เท่ากับ 1.23 นาที รวม 2.35 นาที และการใช้เครื่องถอดยางล้อรถบรรทุก มีค่าเฉลี่ยในการถอดล้อรถบรรทุก เท่ากับ 0.45 นาที และใส่ยางล้อรถบรรทุก มีค่า เฉลี่ย เท่ากับ 0.47 นาที รวม 1.32 นาที ซึ่งเครื่องนี้จะใช้เวลาน้อยกว่าการใช้แรงคน มีค่าเฉลี่ยรวม เท่ากับ 1.03 นาที ช่วยลดเวลาการปฏิบัติงานได้ ผลการศึกษาความ    พึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อเครื่องถอดยางล้อรถบรรทุก โดยรวม อยู่ในระดับพึงพอใจมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.19, S.D. = 0.43) หากพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจเครื่องถอดยางล้อรถบรรทุก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการใช้งาน (gif.latex?%5Cbar%7Bx%7D= 4.25, S.D. = 0.43) รองลงมา คือ ด้านการออกแบบ (gif.latex?%5Cbar%7Bx%7D= 4.22, S.D. = 0.44) และด้านการสร้าง (gif.latex?%5Cbar%7Bx%7D= 4.14, S.D. = 0.42)   

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การขนส่งทางรถยนต์, ม.ป.ป., [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://www.360truck.co/blogs/360truck/ transport-truck/. สืบค้น 3 มกราคม 2564.

กรมการขนส่งทางบก, 2562, รถจดทะเบียนใหม่ทั่วประเทศ, [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.tcijthai.com/news/2019/18/current/9220. สืบค้น 5 มกราคม 2564.

ชินภัทร แก้วโกมินทวงษ์, และคณะ, “การสร้างและหาประสิทธิภาพเครื่องล้างหม้อน้ำรถยนต์”, วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา, ปีที่ 6, ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2565, หน้า 37-47.

นิพนธ์ ทองนิน และรุ่งเพชร พลทำ, 2559, เครื่องถอดและใส่ยางรถยนต์, สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์ วิทยาลัยเทคนิคหนองคาย, สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1.

พงศกร สุรินทร์, และคณะ, “การพัฒนาเครื่องบดเศษหน่อไม้”, วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา, ปีที่ 6, ฉบับที่ 2 พ.ศ.2565, หน้า 30-36.

พรชัย แย้มบาน, มณเทียร พลศรีลาภ และ วิเชียร สุวรรณพล, “การพัฒนาเครื่องแยกเส้นใยจากกาบมะพร้าว”, วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา, ปีที่ 4, ฉบับที่ 1 พ.ศ.2563, หน้า 82-88.

วริทธิ์ อึ๊งภากรณ์ และชาญ ถนัดงาน, 2534, การออกแบบเครื่องจักรกล, พิมพ์ครั้งที่ 10, กรุงเทพฯ, ซีเอ็ดยูเคชั่น.

บุญชม ศรีสะอาด, 2560, การวิจัยเบื้องต้น, พิมพ์ครั้งที่ 10, กรุงเทพ, สุวีริยาสาส์น, หน้า 66-74.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ, 2544, เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา, พิมพ์ครั้งที่ 5, กรุงเทพ, สุวีริยาสาส์น, หน้า 73.