การศึกษาสมบัติทางวิศวกรรมของฉนวนกันความร้อนจากขี้เลื่อย

Main Article Content

ดร.พัชร อ่อนพรม
ปรียาภรณ์ รัตนติสร้อย
ศตวรรษ ทองชาติ
ศิริวรรณ ประดิษฐ์ด้วง
เมสิณี นิลทะวัช

บทคัดย่อ

 งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาคุณสมบัติของแผ่นฉนวนกันความร้อนที่ทำจากขี้เลื่อย โดยการนำขี้เลื่อยไม้เนื้อแข็งและขี้เลื่อยไม้ยางพาราที่เป็นวัสดุเหลือใช้มาผสมกับกาวผงร็อควู๊ด โดยใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราแทนที่ขี้เลื่อยไม้เนื้อแข็งในอัตราส่วนผสม ร้อยละ 0, 25, 50, 75, และ 100 โดยปริมาตร ขึ้นรูปตัวอย่างแผ่นฉนวนกันความร้อนขนาด 20.0 x 20.0 x 2.0 เซนติเมตร ทำการถอดแบบที่อายุ 1 วัน ทดสอบกำลังรับแรงดัด ความหนาแน่น การดูดซึมน้ำ การพองตัว ปริมาณความชื้น ค่าการนำความร้อน การแพร่กระจายความร้อน และ ความร้อนเฉพาะ ที่อายุ 28 วัน ผลการทดสอบพบว่า การแทนที่ขี้เลื่อยไม้เนื้อแข็งด้วยขี้เลื่อยไม้ยางพาราไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของค่ากำลังรับแรงดัดและการพองตัว โดยค่าปริมาณความชื้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่คุณสมบัติด้านอัตราการดูดซึมน้ำ ค่าการนำความร้อน การแพร่กระจายความร้อน และความร้อนพาะ มีแนวโน้มลดลง นอกจากนี้ ค่าความหนาแน่นของแผ่นฉนวนกันความร้อน จากงานวิจัยในครั้งนี้ ผ่านเกณฑ์ มอก.876 – 2547 แผ่นไม้อัดชนิดราบ


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

SCG Building Materials, แผ่นฉนวนกันความร้อน, 2560, [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2564]. จาก https://www.scgbuildingmaterials.com

บ้านและการจัดสวน, ขี้เลื่อย, 2563, [ออนไลน์]. [สืบค้น เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2564]. จาก www.sanook.com

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, แผ่นไม้อัดชนิดราบ, 2547, [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2564]. จาก https://www.nqi.go.th