ซีเมนต์นอนชริ้งค์เกราท์ผสมซีเมนต์มอร์ต้าร์

Main Article Content

ดร.พัชร อ่อนพรม
พันธวิช แทนประสิทธิ์
เลิศศักดิ์ ใจบุญ
วินัย ชัยเพชร
ภาคภูมิ กลั่นไพรี
โชคทวี ธรรมศร
จิระเดช ละครรำ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


     โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติด้านกำลังรับแรงอัด ความหนาแน่น และอัตราการดูดซึมน้ำที่อายุ 7, 14, และ 28 วัน ของซีเมนต์นอนชริ้งค์เกราท์ผสมซีเมนต์มอร์ต้าร์ โดยใช้ซีเมนต์มอร์ต้าร์ที่มีอัตราส่วนผสมระหว่างปูนซีเมนต์ต่อทราย เท่ากับ  1:1  และ  1:1.5 และใช้อัตราส่วนระหว่างน้ำต่อปูนซีเมนต์เท่ากับ 0.3 และ 0.4 แทนที่ซีเมนต์นอนชริ้งค์เกราท์ในอัตราส่วนร้อยละ 0, 10, 20, 30, 40, และ 50 โดยปริมาตร ผลการทดสอบพบว่า อัตราส่วนซีเมนต์มอร์ต้าร์ 1:1 และ 1:1.5 ที่ใช้แทนที่ซีเมนต์นอนชริ้งค์เกราท์ร้อยละ 10 โดยปริมาตร เป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุด  โดยมีกำลังรับแรงอัดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในขณะที่ค่าความหนาแน่นและอัตราการดูดซึมน้ำใกล้เคียงกันกับซีเมนต์นอนชริ้งค์เกราท์ที่ไม่มีซีเมนต์มอร์ต้าร์ในอัตราส่วนผสม นอกจากนี้ ซีเมนต์มอร์ต้าร์มีราคาวัสดุถูกกว่าซีเมนต์นอนชริ้งค์เกราท์


           จากผลการทดลองสรุปได้ว่า สามารถใช้ซีเมนต์มอร์ต้าร์แทนที่ซีเมนต์นอนชริ้งค์เกราท์ในปริมาณที่เหมาะสมได้


 


คำสำคัญ : ซีเมนต์นอนชริ้งค์เกราท์, ซีเมนต์มอร์ต้าร์, กำลังรับแรงอัด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง
[1] Enterprise construction and engineering, การวิบัติของโครงสร้าง, 2563, [ออนไลน์].
[สืบค้นเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2564]. จาก https://www.enterprise.com
[2] บริษัทเลิศวสิน, ปูนนอนชริ้งค์เกร้าท์, 2556, [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2564]. จาก https://www.lertwasin.com
[3] Onestockhome, ปูนมอร์ต้าร์, 2562, [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2564]. จาก https://www.onestockhome.com
[4] ASTM C 109. 1997. Standard Test Method for
Compressive Strength of Hydraulic Cement
Mortar. ASTM Book of Standard. 4(1): 71-75.