ผู้ประกอบการนวัตกรรมในโลกยุคปกติใหม่

Main Article Content

สมพร ปานดำ

บทคัดย่อ

ผู้ประกอบการใหม่และธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศไทยทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ในปัจจุบันความสามารถเชิงนวัตกรรมเป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างความสำเร็จด้านการลงทุนใหม่ ๆ ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นเครื่องมือทางการแข่งขันที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จ ในขณะที่โควิด-19 ยังคงระบาดอยู่ในแทบทุกพื้นที่ของโลก  แต่การระบาดของไวรัสครั้งนี้ก็ทำให้เกิดการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ อย่างก้าวกระโดด มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้กับงานแทบจะทุกแขนง ทั้งการประชุมผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ การเรียนออนไลน์ การสั่งสินค้าผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ แทนการเดินเข้าห้าง เพื่อลดการติดต่อโดยตรงระหว่างบุคคล บทความนี้นำเสนอเนื้อหาที่สำคัญเกี่ยวกับ การเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรมในโลกยุคปกติใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจหรือเทรนด์ใหม่ให้ผู้ที่จบการศึกษาจากสถาบันการอาชีวศึกษา หรือ วิทยาลัยในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จะประกอบอาชีพเป็นผู้ประกอบการ ด้วยทักษะนวัตกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ตลอดหลักสูตรที่ผ่านมา  และนำเสนอแนวทางการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ (New Entrepreneurs) จากผู้เรียนอาชีวศึกษาที่ จะเข้ามาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศผ่านการศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา  ส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระในกลุ่มผู้เรียนอาชีวศึกษาที่มุ่งให้องค์ความรู้ด้านธุรกิจและส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการแก่นักเรียนนักศึกษาผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรม  ซึ่งการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรมในโลกยุคปกติใหม่ ที่เกิดขึ้นจะทำให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ มองหาความยั่งยืน และสร้างความมั่นคงและช่วยทำให้ภาคเศรษฐกิจเข้มแข็งอีกด้ว

Article Details

บท
บทความพิเศษ

References

[1] สมใจ ศรีเนตร. “แนวโน้มการเป็นผู้ประกอบการใหม่ในธุรกิจอาเซียน” วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, ปีที่13 (ฉบับที่ 1), 113-122, 2560.
[2] สุชาติ ไตรภพสกุล และสหัทยา ชูชาติพงษ์. “แบบจำลองการพัฒนาสังคมความเป็นผู้ประกอบการและนวัตกรรมในประเทศไทย” วารสารนักบริหาร, ปีที่34 (ฉบับที่ 2), 26-36, 2557.
[3] ไทยรัฐออนไลน์, “SME ไทยแลนด์ 4.0 ติดอาวุธไร้เทียมทาน” [Online]. Available: http://www.thairath.co.th/ content/ 644179 [Accessed: 1 เมษายน 2564].
[4] ธนันธร มหาพรประจักษ์, “โควิดเร่งธุรกิจปรับเข้าสู่ดิจิทัล” [Online]. Available: https://www.bot.or.th/Thai/ ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_24Apr2021.aspx [Accessed: 19 เมษายน 2564].
[5] อาคีรา ราชเวียง. “อนาคตผู้ประกอบการในยุค 4.0” วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, ปีที่ 12 (ฉบับที่ 2), 79-88, 2560.
[6] David Achtzehn,“นวัตกรรม…อาวุธเด็ดของผู้ประกอบการ” [Online]. Available: https://forbesthailand.com/ news/ [Accessed: 19 มกราคม 2564].
[7] อาจุมม่าโอปอล ไทยรัฐออนไลน์, “โควิด เร่งผู้ประกอบการสู่ดิจิทัล ยุคสีเขียว และความหลากหลาย” [Online]. Available: https://www.thairath.co.th/news/foreign/2064273 [Accessed: 19 เมษายน 2564].
[8] ธนันธร มหาพรประจักษ์, “ปรับธุรกิจให้อยู่รอดในยุค New Normal”[Online]. Available: https://www.bot.or.th/ Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_19Oct2020.aspx [Accessed: 19 เมษายน 2564].
[9] มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, “10 ความคิดพื้นฐานที่ผู้ประกอบการต้องมี” [Online]. Available: https://www.utcc.ac.th/ [Accessed: 10 มีนาคม 2564].
[10] สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship Education). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด, 2561.
[11] สมพร ปานดำ. เอกสารวิจัยส่วนบุคคล แนวทางการพัฒนาศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาสู่การสร้างผู้ประกอบการใหม่. กรุงเทพฯ :วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 62, 2562.