อุปกรณ์เตือนระยะการจอดรถติดกับรถผู้พิการ ผ่านสมาร์ทโฟน
Main Article Content
บทคัดย่อ
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของอุปกรณ์เตือนระยะการจอดรถติดกับรถผู้พิการ ผ่านสมาร์ทโฟน ที่ออกแบบให้มีการทำงานร่วมกันระหว่าง เซนเซอร์อัลตร้าโซนิค กับ NodeMCU ESP32-Cam พร้อมทั้งพัฒนา App DIW ในการแสดงผลและควบคุมการทำงาน บนแพลตฟอร์ม App Blynk โดยมีความตั้งใจว่าอุปกรณ์ที่ได้สร้างขึ้นนี้จะอำนวยความสะดวกในการขึ้นลงรถของผู้พิการที่นั่งรถเข็น แต่สามารถขับรถยนต์ได้ด้วยตนเองที่ประสบปัญหาในการขึ้นลงรถเมื่อมีรถยนต์มาจอดข้าง ๆ ในระยะใกล้เกินไป
จากการทดลองหาประสิทธิภาพของอุปกรณ์เตือนระยะการจอดรถติดกับรถผู้พิการผ่านสมาร์ทโฟนพบว่าเมื่อตรวจพบสิ่งกีดขวางที่เข้ามาอยู่ในระยะ 0 – 150 เซนติเมตรถึงอุปกรณ์แจ้งเตือน NodeMCU ESP32-Cam จะถ่ายภาพสิ่งกีดขวางแล้วส่งไปยังบัญชี Line ที่ตั้งไว้ในโปรแกรมควบคุมการทำงาน พร้อมทั้งสั่งให้อุปกรณ์ไฟ LED แสดงผลแจ้งเตือน และส่งเสียงเป็นสัญญาณแจ้งเตือนเป็นคำพูดได้ทุกครั้ง ทำให้สามารถแจ้งเตือนทั้งผู้ที่มาจอดรถใกล้กับรถของผู้พิการมากเกินไป และผู้พิการซึ่งเป็นเจ้าของรถอีกด้วย จึงกล่าวได้ว่าอุปกรณ์เตือนระยะการจอดรถติดกับรถผู้พิการผ่านสมาร์ทโฟนมีประสิทธิภาพตามที่ได้ตั้งไว้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์ โดย สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1
306 หมู่ 5 ถนนมิตรภาพ หนองคาย-อุดรธานี ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 43000
โทร 0-4241-1445,0-4241-1447
ISSN : 3027-6861 (print) ISSN : 3027-687X (online)
References
กระทรวงมหาดไทย, 2560, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปี พ.ศ. 2560, หน้า 4-8.
น้อมจิตต์ นวลเนตร์ และ สิริรักษ์ ภาภิรมย์, การสำรวจสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการในเขตเมืองขอนแก่น, วิทยาลัยและพัฒนาผู้พิการ ปีที่2, ฉบับที่ 1, หน้าที่ 1-3.
ดร.ถิรพิรุฬห์ ทองคำวิฑูรย์, 2559, “เทคโนโลยี Internet of Things และข้อเสนอแนะในการบริหารคลื่นความถี่ในประเทศไทย”, กสทช,หน้าที่ 1-32.