การศึกษาด้านการปรับปรุงทางด้านกายภาพของอาคารเรียนและห้องปฏิบัติการ สาขาวิชาเครื่องกล วิทยาลัยในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 การศึกษาด้านการปรับปรุงทางด้านกายภาพของอาคารเรียนและห้องปฏิบัติการ สาขาวิชาเครื่องกล วิทยาลัยในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาด้านการปรับปรุงทางด้านกายภาพของอาคารเรียนและห้องปฏิบัติการ สาขาวิชาเครื่องกลวิทยาลัยในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาลักษณะการใช้อาคารเรียนและพื้นที่ปฏิบัติการ สาขาวิชาเครื่องกล วิทยาลัยในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 2) เพื่อศึกษาอัตราการใช้ห้องและอัตราการใช้พื้นที่ห้องปฏิบัติการ สาขาวิชาเครื่องกล วิทยาลัยในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 และ 3) เพื่อจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศด้านการใช้อาคารเรียน สาขาวิชาเครื่องกล วิทยาลัยในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา ได้แก่ ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา สาขาวิชาเครื่องมือกล ทุกระดับชั้น วิทยาลัยในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1จำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามประสิทธิภาพของการใช้อาคารเรียนและห้องปฏิบัติการสาขาวิชาเครื่องกล วิทยาลัยในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้จัดแบ่งเป็น 4 ส่วน 1) ข้อมูลเบื้องต้นจากการทบทวนวรรณกรรม และแหล่งข้อมูลอื่น ๆ 2) ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจพื้นที่และสังเกตแบบมีส่วนร่วมโดยผู้วิจัย 3) ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามของนักศึกษาและอาจารย์ และ 4) ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ตัวแทนนักเรียน นักศึกษาและอาจารย์ประจำสาขาวิชา ผลการวิจัย พบว่า นักเรียน นักศึกษา และอาจารย์ มีความคิดเห็นด้านปัญหาที่พบในการใช้พื้นที่อาคาร ได้แก่ด้านอาคาร เรียนมากที่สุด รองลงมาคือ สภาพแวดล้อม และด้านการจัดห้องเรียน ความคิดเห็นด้านการปรับปรุงพื้นที่ภายในอาคาร นักเรียน นักศึกษาและของอาจารย์ มีความคิดเห็นด้านการปรับปรุงพื้นที่ภายในอาคาร ได้แก่ อาคารเรียน มากที่สุด รองลงมาคือ ห้องเรียน และห้องน้ำ ตามลำดับ นักเรียนนักศึกษาและอาจารย์มีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่าควรมีอาคารเรียนสำหรับสาขาเครื่องกล โดยเฉพาะ นักเรียน นักศึกษาและอาจารย์ส่วนใหญ่คิดว่าอาคารเรียนในปัจจุบันที่ใช้งานอยู่ไม่เหมาะสมต่อการใช้งาน สิ่งควรปรับปรุงหรือแก้ปัญหามากที่สุดคือ ห้องเรียนในแต่ละชั้น รองลงมาคือ ส่วนสนับสนุนต่าง ๆ เช่น ห้องน้ำ/ห้องเก็บอุปกรณ์ และคิดว่าจำนวนชั้นเรียนของอาคารเรียนในปัจจุบันยังไม่เพียงพอ ตามลำดับ นักเรียนนักศึกษาและอาจารย์ส่วนใหญ่คิดว่าห้องเรียนต่าง ๆ ที่อยู่ภายในอาคารเรียนปัจจุบันมีความเหมาะสมต่อการใช้งานและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนไม่เหมาะสมจะมีแนวทางการปรับปรุง อุปกรณ์/สื่อการเรียน รองลงมาคือ ขนาดของห้องเรียน และคิดว่าอาคารเรียนสำหรับสาขาเครื่องมือกลควรจัดให้มีห้องเรียนปฏิบัติการและห้องเรียนพิเศษ แยกออกจากกัน ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์ โดย สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1
306 หมู่ 5 ถนนมิตรภาพ หนองคาย-อุดรธานี ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 43000
โทร 0-4241-1445,0-4241-1447
ISSN : 3027-6861 (print) ISSN : 3027-687X (online)
References
พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551. (26 กุมภาพันธ์ 2551). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที 6 43 ก. หน้า 3.
สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1. (2563) .แผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564. สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1. อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย.
ปริญญา อังสุสิงค์. (2521). การบริหารอาคารสถานที่ และสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีครินทรวิโรฒประสานมิตร.