ถังขยะอัตโนมัติระบบไอโอที

Main Article Content

Pipat Durongdumrongchai

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้ นำเสนอการออกแบบและสร้างถังขยะอัตโนมัติระบบไอโอที เพื่อสร้างถังขยะให้มีความทันสมัย สามารถนำไปใช้งานได้จริงตามสถานที่ต่างๆ โดยใช้อุปกรณ์ตรวจวัดระยะทางด้วยคลื่นอัลตร้าโซนิค โหนดเอ็มซียู ESP8266และไมโครคอนโทรลเลอร์ Arduino UNO R3 เป็นตัวประมวลผล มีการแจ้งเตือนไปยังสมาร์ทโฟนผ่านแอปพลิเคชันไลน์ (Line Notify) ได้ ซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมดนี้ จะทำงานร่วมกันเป็นระบบไอโอที มีหลักการทำงานดังนี้ เมื่อถังขยะอัตโนมัติระบบไอโอทีเริ่มทำงาน ถ้ามีความเคลื่อนไหวใกล้ถังขยะในระยะที่กำหนดไว้ ตัวอุปกรณ์ตรวจวัดระยะทางจะรับรู้ แล้วส่งสัญญาณไปประมวลผลที่โหนด เอ็มซียู ESP8266 เพื่อสั่งการให้เซอร์โวมอเตอร์ทำงาน ส่งผลให้ฝาถังขยะเปิด จึงทำให้สามารถทิ้งขยะได้ ส่วนภายในถังขยะก็จะมีอุปกรณ์ตรวจวัดระยะทางอีกหนึ่งตัว ทำหน้าที่คอยตรวจสอบปริมาณขยะในถังขยะ ที่มีการแสดงปริมาณขยะในถังขยะด้วยหลอด LED และสามารถส่งการแจ้งเตือนปริมาณขยะในถังขยะไปยังสมาร์ทโฟนผ่านแอปพลิเคชันไลน์ได้ จากการสั่งการด้วยโหนด เอ็มซียู  ESP 8266 ผลการทดสอบปรากฏว่าถังขยะอัตโนมัติระบบไอโอทีนี้ จะสามารถเปิดฝาถังขยะได้อัตโนมัติในระยะทางที่กำหนดไว้ สามารถแสดงปริมาณขยะในถังขยะด้วยหลอด LED  และสามารถแจ้งเตือนปริมาณขยะในถังขยะไปยังสมาร์ทโฟนผ่านแอปพลิเคชันไลน์ได้ จึงสามารถสรุปได้ว่า ถังขยะอัตโนมัติระบบไอโอทีมีความแตกต่างจากถังขยะตามท้องตลาดที่ต้องใช้มือหรือเท้าเพื่อกดเปิดฝาถังขยะ เพราะว่าถังขยะอัตโนมัติระบบไอโอทีมีระบบตรวจจับอัตโนมัติ จึงทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องสัมผัสกับถังขยะ และยังสามารถแจ้งเตือนปริมาณขยะในถังขยะไปยังสมาร์ทโฟนผ่านแอปพลิเคชันไลน์ได้อีกด้วย โดยการแจ้งเตือนนี้จะมีผลดีต่อผู้ความคุมเป็นอย่างมาก ในกรณีที่มีถังขยะหลายใบและอยู่ต่างพื้นที่กัน การใช้งานจึงเหมาะสำหรับการใช้ในโรงพยาบาล สถานที่ทำงาน และสถานที่อื่นๆ เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่อาจติดอยู่ตามถังขยะ หรือเพื่อความสะดวกสบาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นิติคม อริยพิมพ์ และ อนุชา ดีผาง, “อุปกรณ์ควบคุมการทำงานมิเตอร์ไฟฟ้าผ่านแอพพลิเคชั่น” วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีว

ศึกษา , ฉบับ 1, พ.ศ. 2564. หน้า 128-137.

นายอานนท์ เนตรยอง และ นางสาวธิติมา นริศเนตร, “ถังขยะอัจฉริยะ” The Second FIT SSRU Conference 2019, พ.ศ. 2562,หน้า 128-133.

ณิชดนีย์ ธัญพรหิรัณย์ และ ชุติธารรัฐ อุตมะสิริเสนี, “การพัฒนาต้นแบบระบบถังขยะไอโอทีและระบบจัดเก็บข้อมูลการทิ้งขยะแบบออนไลน์ของ นักเรียนในโรงเรียนระดับประถมศึกษา” วารสารวิทยา

ศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, ฉบับที่ 1, พ.ศ. 2564,หน้า 54-62.

อัษฎายุธ น้อยผล และ นพดล มณีรัตน์, “เครื่องคัดแยกโลหะโดยใช้คลื่นอัลตร้าโซนิค” วิศวสารลาดกระบัง, ปีที่ 34 ฉบับที่ 2, พ.ศ.2560, หน้า 16-22.

เจตน์ งามประพฤติ, พุทธชาติ ยมกิจ และ สัญฌา พันธุ์แพง, “กล่องจดหมายอัจฉริยะเพื่อบริษัทแอดไวซ์เชียงราย” กการประชุมวิชาการระดับชาติวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 1, พ.ศ. 2563, หน้า 748-755.

J. Thaenthong, S. Takaew and K. Sornphrakhanchai, “Mobile Application Development for Pet Feeder with using Microcontroller and Internet of things” Journal of Information Science and Technology (JIST), 9, 1, 2019, pp.28-40.

จามจุรี กุลยอด, และ ศิลป์ณรงค์ ฉวีพัฒน์ “ต้นแบบระบบควบคุมการเปิด-ปิดไฟ ผ่านแอพพลิเคชัน บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์” ราย

งานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 4, พ.ศ. 2560, หน้า 1388-13936.

ธนิท เรืองรุ่งชัยกุล, กัญญาภัทร์ มงคลพรสุข และ อารยา เลิศสกุลภัทร,“อุปกรณ์ตรวจวัดมุมของระบบผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์แบบติด

ตามดวงอาทิตย์โดยใช้ IoT” วารสารวิชาการพลังงานทดแทนสู่ชุมชน, ปีที่ 4, ฉบับที่ 1, พ.ศ. 2564, หน้า 25-32.