ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการควบคุมภายในด้านการเงินและบัญชีโรงพยาบาลของรัฐบาลในจังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

ดารุณี ธรรมประวัติ
วิสาข์รัตน์ ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการประสิทธิภาพการควบคุมภายในด้านการเงินและบัญชีของโรงพยาบาลรัฐบาลในจังหวัดมหาสารคาม   ประชากรคือ บุคลากรด้านการเงินและบัญชีของโรงพยาบาลรัฐบาลในจังหวัดมหาสารคาม   13 แห่ง จำนวน 103 คน สถิติที่ใช้ในการศึกษา ค่าร้อยละ(Percentage)  ค่าเฉลี่ย(Average) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) Tt-test และ F-test One-way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า ประสิทธิภาพการควบคุมภายในด้านการเงินและบัญชีของโรงพยาบาลรัฐบาลในจังหวัดมหาสารคาม โดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ความคิดเห็นมากทุกด้าน โดยเรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ปัจจัยด้านนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติ ปัจจัยด้านโครงสร้างการจัดองค์กร ปัจจัยด้านสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร และปัจจัยด้านกฎระเบียบข้อบังคับ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยบุคลากร  ระดับการศึกษา ตำแหน่ง และประสบการณ์การทำงานที่ต่างกัน  มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการควบคุมภายในด้านการเงินและบัญชีทุกด้านไม่แตกต่าง ยกเว้นด้านบุคลากรที่มีอายุต่างกันส่งผลต่อประสิทธิภาพการควบคุมภายในด้านการเงินและบัญชีของโรงพยาบาลรัฐบาลในจังหวัดมหาสารคามแตกต่างกัน    

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธ. (2560). ผลกระทบของการควบคุมภายในที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการและพนักงานราชการกรมการเงินทหารบก การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 7 “มหาวิทยาลัยเพื่อรับใช้สังคมพลังขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ยุค 4.0”6-7 กรกฎาคม 2560 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สุพัตรา บุญโญปกรณ์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมภายในที่ดีของสำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต สาขาบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

หลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานภาครัฐ. (2561)

]อรญา เหล่าศิลา. (2560). การควบคุมภายในกับประสิทธิภาพการทำงาน. บัญชีมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยธุรกิตบัณฑิตย์

จนัญญา ใหม่นทีกุล. (2561) การพัฒนาระบบการควบคุมภายในด้านการเงินและบัญชีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วารสารสาระคาม: ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2561

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). หน้า 209

กัลยา ด่านทองหลาง. (2560). ผลกระทบของระบบการควบคุมภายในต่อผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดนครราชสีมา. การศึกษาค้นคว้าอิสระ หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

สุพัตรา บุญโญปกรณ์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมภายในที่ดีของสำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต สาขาบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อัจฉริยา อิ่มรส. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการควบคุมภายใน : กรณีศึกษาโรงพยาบาลรัฐบาลจังหวัดกรุงเทพมหานคร. หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุมโชติ

อาภาณ์ พัฒนาวงษ์ชัยกุล. (2559). การประเมินประสิทธิภาพการควบคุมภายในตามแนวคิดCOSO กรณีศึกษา: กองคลัง เทศบาลตำบลเมืองเก่า จังหวัดขอนแก่น. หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ลักษมล เอื้อเฟื้อ. (2555). ผลกระทบของบรรยากาศด้านจริยธรรมที่มีต่อการควบคุมภายในที่ดีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.