การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และวงจรโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน (RBL) ด้วยชุดฝึกวงจรเรียงกระแส

Main Article Content

Wanwisa wattanasin
จารุณี แก้วหาดี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อ
การเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม เรื่อง
วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น 2) ประเมินความความพึงพอใจที่
มีสื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม เรื่อง
วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น ที่ทำการศึกษาได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ
จำนวน 5 ท่าน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่
ใช้ในการวิจัยคือ 1) สื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความ
จริงเสริม เรื่อง วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น 2) แบบประเมิน
ความเหมาะสมของสื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความ
จริงเสริม เรื่อง วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น 3) แบบประเมิน
ความพึงพอใจที่มีต่อสื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยี
ความจริงเสริม เรื่อง วงจรไฟฟ้าเบื้องต้นผลการวิจัย
พบว่า สื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม
เรื่อง วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ
มีความเหมาะสมของสื่อการสอนอยู่ในระดับดีมาก
( gif.latex?\bar{x} =4.56, S.D. =0.50) และผลประเมินความพึง
พอใจที่มีต่อสื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความจริง
เสริม เรื่อง วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น โดยนักศึกษาจำนวน
25 คน อยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x} =4.55,S.D. =0.54)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ, “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545”, องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์, พ.ศ. 2545.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ, “เทคโนโลยีการศึกษาและทฤษฎีและการวิจัย”, โอเดียนสโตร์, พ.ศ.2543.

ทิศนา แขมมณี, “ศาสตร์การสอน”,สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่ 15, พ.ศ.2555.

ธาดา คำฟูบุตร. “บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อทบทวนเรื่อง การใช้มัลติมิเตอร์เบื้องต้น.” วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, พ.ศ.2557.

ทัศนีย์ บุญเติม, “การสอนแบบ Research Based Learning”. วิธีวิทยาการวิจัย,พ.ศ.2537 หน้า 1-14.

ปัญญา ประดิษฐบาทุกา และคณะ, “ปัจจัยเชิงเหตุผลทางจิตสังคมที่มีผลต่อสมรรถนะและพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐานของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชฎัชในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล”,วารสารพฤติกรรมศาสตร์, พ.ศ.2556.

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา,“แนวการจัดการเรียนรู้โดยนักเรียนใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนรู้”, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กระทรวงศึกษาธิการ, เอกสารประกอบการประชุม, พ.ศ.2554.

เสาวภา วิชาดี, “การศึกษาในกระบวนทัศน์ใหม่ : การเรียนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน”Executive Journal มหาวิทยาลัยกรุงเทพ,พ.ศ.2554 หน้า 26-30