แนวทางการบริหารจัดการเพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูง ตามบริบทวิทยาลัยฯ ขนาดเล็ก เพื่อตอบสนองการพัฒนาประเทศ

Main Article Content

สุนทรผไท จันทระ
สมพร ปานดำ
ธนาคาร คุ้มภัย
รัตนาภรณ์ ชิยางคะบุตร

บทคัดย่อ

   การศึกษาเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาคนในชาติ เพราะการศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน ในชาติให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะเฉพาะ รวมไปถึงมีคุณธรรมจริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข ดังนั้น ทุกภาคส่วนจึงให้ความสำคัญกับระบบการศึกษา และการจัดการการศึกษา ในอันดับต้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนการจัดการศึกษาตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือแม้กระทั่งแผนการศึกษาแห่งชาติ ล้วนให้ความสำคัญ และวางแผนในการกำหนดการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 การเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการศึกษาในทุกระดับ ทุกประเภทและการพัฒนาระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 ได้กำหนดวิสัยทัศน์ให้ “คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21” แต่ในสถานการณ์ปัจจุบัน สถานศึกษาแต่ละแห่งมีความแตกต่างกัน
ในเรื่องขนาดของสถานศึกษา และจำนวนผู้เรียน ทำให้ได้รับการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนที่แตกต่างกัน ส่งผลให้คุณภาพของผู้เรียนแตกต่างกันไปด้วย ซึ่งปัญหาดังกล่าว ถือว่าเป็นปัญหาด้านการเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่เกิดจากขนาดของสถานศึกษาซึ่งมีจำนวนนักเรียนที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะสถานศึกษาขนาดเล็ก ที่มีจำนวนนักเรียนน้อย ทำให้ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายหัวต่อจำนวนผู้เรียนน้อยตามไปด้วย ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา ได้แก่ ปัญหาด้านการบริหารจัดการ เช่น ปัญหาอัตราครูต่อจำนวนผู้เรียน ปัญหาจำนวนนักเรียนต่อห้องต่ำกว่ามาตรฐาน เป็นต้น ปัญหาด้านการเรียน
การสอน ครูสอนไม่เต็มเวลา เนื่องจากต้องใช้เวลาในการปฏิบัติภารกิจอื่นนอกเหนือจากการเรียนการสอนที่ได้รับมอบหมาย เพราะไม่มีงบประมาณในการจ้างเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเฉพาะด้าน ปัญหาด้านความพร้อมของปัจจัยสนับสนุน ขาดวัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ สิ่งก่อสร้าง ขาดสื่อเสมือนจริงในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ ส่งผลให้สถานศึกษาที่มีขนาดเล็ก ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้ได้


      ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องหาแนวทางยกระดับคุณภาพการศึกษา หาแนวทางการบริหารจัดการเพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูงตามบริบทวิทยาลัยฯ ขนาดเล็ก เพื่อตอบสนองการพัฒนาประเทศที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องในยุค Thailand 4.0 ซึ่งถือว่าเป็นยุคเทคโนโลยีดิจิทัล ที่มีการแข่งขันกันสูง การศึกษาจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ในประเทศเพื่อเตรียมกำลังคนให้พร้อม และยังเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมไทยสู่เวทีเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติต่อไป

Article Details

บท
บทความพิเศษ
Author Biography

สุนทรผไท จันทระ, สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1

ประสบการณ์งานวิจัย ผลงานวิชาการ และรายงานการประชุมทางวิชาการ 3.1) Career aspirations, goal orientation, and classroom anxiety ตีพิมพ์ในการประชุม วิชาการระดับนานาชาติ Communication and Management in Technological Innovation and Academic Globalization (COMATIA'10) ณ เมืองเกาะ Canary ประเทศสเปน 3.2) Self-Determination Theory and Career aspirations: A Review of literature ตีพิมพ์ใน การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ Social Science and Humanity – ICSSH 2011 ณ ประเทศสิงคโปร์ 3.3) Relationship Between Career Aspirations and Measures of Motivation Toward Biology and Physics, and the Influence of Gender ที่ตีพิมพ์ในวรสารงานวิจัย Journal of Science Education and Technology @ Springer Science Business Media, LLC 2010 ประเทศสหรัฐอเมริกา 3.4) Influence of Aspirations and Materialism on Achievement goal orientations ตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 3.5) รับรางวัล BEST PAPER AWARD งานวิจัยเรื่อง The power of ambition in achieving a vocational education ตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ International Conference on Learning Innovation in Science and Technology 2012 ICLIST2012 จังหวัดภูเก็ต

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. [Online]. Available : www.moe.go.th.

โกเมศ แดงทองดี. การศึกษาในยุค Thailand 4.0. วารสารการอาชีวศึกษาภาคกลาง สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 4, - - 3.

จิตรา สุขเจริญ. “การจัดการศึกษาในยุค 4.0” [Online]. Available : 164.115.41.60/knowledge/ ?p=600.

สุพรรณี บุญหนัก ธนวัฒน์ชาวโพธิ์ และจักรกฤษณ์โพดาพล. (2564). การศึกษา 4.0 : กระบวนทัศน์การศึกษามุ่งสู่อนาคตประเทศ. วารสารวิจัยศรีล้านช้าง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง, 1 (1) 48-49.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2566) “นโยบายและจุดเน้นการปฏิบัติราชการของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566” [Online]. Available : www.vec.go.th.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2565). “คุณลักษณะเด็กไทยในศตวรรษที่ 21 (ความต้องการกำลังคนยุค 4.0)” [Online]. Available : www.krusmart.com/student-3rs8cs/.

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). การขับเคลื่อน การศึกษามัธยมศึกษาไทย เพื่อการมีงานทําแห่งศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.