แนวทางการเสริมสร้างองค์กรแห่งความสุขของสถาบันการอาชีวศึกษาในภาคใต้ของประเทศไทย องค์กรแห่งความสุข สถาบันการอาชีวศึกษา ประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบและนำเสนอแนวทางการเสริมสร้างองค์กรแห่งความสุขของสถาบันการอาชีวศึกษาในภาคใต้ของประเทศไทย โดยการศึกษาจากเอกสารและข้อมูลเชิงประจักษ์จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารการอาชีวศึกษาที่ประสบความสำเร็จ จำนวน 14 คน แล้วพัฒนาเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่าเกี่ยวกับการเสริมสร้างองค์กรแห่งความสุข เพื่อสอบถามบุคลากรและผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษา จำนวน 323 คน จาก 28 สถาบัน ในภาคใต้ของประเทศไทย โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การตรวจสอบองค์ประกอบด้วยวิธีวิทยาวิจัยสามเส้าด้านข้อมูล และการยืนยันร่างแนวทางโดยวิธีการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า การเป็นองค์กรแห่งความสุขของสถาบันการอาชีวศึกษาในภาคใต้ของประเทศไทยมี 10 องค์ประกอบ 60 ตัวบ่งชี้ ซึ่งสามารถยืนยันได้ว่าตัวบ่งชี้มีความเที่ยงตรงตามสภาพจริง ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการเสริมสร้างองค์กรแห่งความสุขของสถาบันการอาชีวศึกษาในภาคใต้ของประเทศไทยเพื่อให้สามารถบริหารจัดการสถาบันการอาชีวศึกษาไทยให้มีประสิทธิภาพและเป็นองค์กรแห่งความสุขต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์ โดย สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1
306 หมู่ 5 ถนนมิตรภาพ หนองคาย-อุดรธานี ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 43000
โทร 0-4241-1445,0-4241-1447
ISSN : 3027-6861 (print) ISSN : 3027-687X (online)
References
Ayoko, O.B., Ang, A.A., and Parry, K. (2017). “Organizational Crisis: Emotions and Contradictions in Managing Internal Stakeholders”. International Journal of Conflict Management, 28(5), pp.617-643.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะ. (2556). 123 สู่การเป็นองค์กรแห่งความสุข. กรุงเทพฯ: สองขาครีเอชั่น.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2561). มาตรฐานศึกษาระดับการอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ, สุริยะ วชิรวงศ์ไพศาล, ฤทธิเดช พรหมดี, ปรางทิพย์ เสยกระโทก, จิรศักดิ์ สุรังคพิพรรธน์, และอาคีรา ราชเวียง. (2563). “รูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศของสถาบันการอาชีวศึกษาในภาคตะวันออกของประเทศไทย”. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 8 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติสกลนคร, 28 พฤศจิกายน 2563. หน้า 1413-1428.
Fernandez, A.A. and Shaw, G.P. (2020). “Academic Leadership in a Time of Crisis: The Coronavirus and COVID-19”. Journal of Leadership Studies, 14(1), pp.39-45.
Hamdan, K.M., Al-Bashaireh, A.M., Zahran, Z., Al-Daghestani, A., AL-Habashneh, S., and Shaheen, A.M. (2021). “University Students' Interaction, Internet Self-Efficacy, Self-Regulation and Satisfaction with Online Education during Pandemic Crises of COVID-19 (SARS-CoV-2). International Journal of Educational Management, 35(3), pp.713-725.
ศุลีพร เพชรเรียง. (2563). “การพัฒนาองค์กรแห่งความสุขของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา”. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, ปีที่ 7 ฉบับที่ 1, หน้า 1-15.
ทิพวัลย์ รามรง และสานิต ฤทธิ์มนตรี. (2561). “แนวทางการเสริมสร้างองค์กรแห่งความสุขในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์”. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, ปีที่ 44 ฉบับที่ 1, หน้า 185-208.
ขจรศักดิ์ ต้นวัน, สืบวงศ์ กาฬวงศ์, และเมธี ทรัพย์ประสพโชค. (2563). “องค์กรแห่งความสุขของกรมข่าวทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย”. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) ปีที่ 10 ฉบับที่ 1, หน้า 1-12.
Heifetz, R. (2020). The Practice of Adaptive Leadership: Tools and Tactics for Changing Your Organization and the World. Harvard Kennedy School. 79 John F. Kennedy Street Cambridge, MA. https://www.hks.harvard.edu/publications/
Kim, J. (2021). “Does participation in the workplace spill over into political participation? A latent class analysis approach to patterns of political behavior”. Journal of Participation and Employee Ownership, 4(2), pp.174-189.
Rasila, H., Jylhä, T., and Sundqvist, A. (2014). “Opportunities and challenges of workplace concept creation in Finnish government agencies”. Journal of Corporate Real Estate, 16(4), pp.266-274.
Jones, J.R. (2019). “Theorizing a Racialized Congressional Workplace. Race, Organizations, and the Organizing Process”. Emerald Publishing Limited, (60), pp.171-191.
Ahmad, S., Islam, T., Sohal, A.S., Wolfram Cox, J., and Kaleem, A. (2021). “Managing bullying in the workplace: a model of servant leadership, employee resilience and proactive personality”. Personnel Review, 50(7), pp.1613-1631.
ปภาภัทร แสงแก้ว, ปรางทิพย์ เสยกระโทก, สุริยะ วชิรวงศ์ไพศาล, และพงษ์ศักดิ์ ผกามาศ. (2564). “องค์ประกอบการจัดองค์กรแห่งนวัตกรรมทางการศึกษายุคดิจิทัลสำหรับสถาบันการอาชีวศึกษาภายใต้สถานการณ์วิถีปกติใหม่ในประเทศไทย”. วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1, ปีที่ 5 ฉบับที่ 2, หน้า 75-89.
Kurian, J.C., Goh, D.H.-L., and John, B.M. (2021). “Organizational Culture on the Facebook Page of an Emergency Management Agency: a Thematic Analysis”. Online Information Review, 45(2), pp.336-355.