ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดทางจิตวิญญาณที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความฉลาดทางอารมณ์ ความฉลาดทางจิตวิญญาณ และพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ และ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดทางจิตวิญญาณที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ จำนวน โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบตามสะดวก ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ด้วย Google Form และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน คือ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวแปรพฤติกรรมเชิงนวัตกรรม ความฉลาดทางอารมณ์ และความฉลาดทางจิตวิญญาณมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และ 2) ความฉลาดทางอารมณ์ ด้านการตระหนักรู้ในตนเอง ด้านการจัดระเบียบอารมณ์ตนเอง และความฉลาดทางจิตวิญญาณด้านการเปิดกว้างจิตสำนึกส่งผลต่อพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และตัวแปรความฉลาดทางอารมณ์ด้านทักษะทางสังคม ความฉลาดทางจิตวิญญาณด้านการคิดวิจารณญาณและด้านการตระหนักรู้ความจริง ส่งผลต่อพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการได้ร้อยละ 64.10
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์ โดย สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1
306 หมู่ 5 ถนนมิตรภาพ หนองคาย-อุดรธานี ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 43000
โทร 0-4241-1445,0-4241-1447
ISSN : 3027-6861 (print) ISSN : 3027-687X (online)
References
ศุภชัย หล่อโลหการ ภคพงศ์ พรมนุชาธิป และ ปัทมาวดี พัวพรหมยอด. (2553). การจัดการนวัตกรรมสำหรับผู้บริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 3 . สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. กรุงเทพมหานคร.
สุธาสินี โพธิจันทร์. (2559). ทักษะการทำงานที่จำเป็นในยุค Industry 4.0: สถาบัน เพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2565, จาก www.ftpi.or.th.
Paul, V. M. T., & Devi, N. U. (2018). Psychological capital, outcome expectation and job performance: A Mediated model of innovative work behavior. International Journal for Research in Engineering Application & Management, 1(1), 52-60.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2543). การพัฒนาแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์สําาหรับประชาชนไทย อายุ 12-60 ปี. กรุงเทพฯ : กรมสุขภาพจิต.
Mayer, J. D., Salovey, P., Caruso, D. R., & Sternberg, R. J. (2000). Models of emotional intelligence. JD Mayer.
Hou, X., Yuan, Q., Hu, K., Huang, R., & Liu, Y. (2020). Employees' emotional intelligence and innovative behavior in China: Organizational political climate as a moderator. Social Behavior and Personality: an international journal, 48(11), 1-11.
Choi, M. H., & Min, H. H. (2020). Emotional intelligence and self-efficacy on innovative behavior of clinical dental hygienists. Journal of Korean society of Dental Hygiene, 20(2), 167-174.
Malik, S. (2021). Emotional intelligence and innovative work behaviour in knowledge-intensive organizations: how tacit knowledge sharing acts as a mediator?. VINE Journal of Information and Knowledge Management Systems.
Bavandi Sani, S. M., Malekzadeh, G., & Pooya, A. (2019). Investigating the Effect of Spiritual Intelligence on the Job Performance of the Employees by the Mediating Role of Individual Innovations (Case of Mehre Eghtesad Bank in Khorasan Razavi). Journal Of Social Sciences, 15(2), 173-212.
Masyhuri, M., Pardiman, P., & Siswanto, S. (2021). The effect of workplace spirituality, perceived organizational support, and innovative work behavior: The mediating role of psychological well-being. Journal of Economics, Business, & Accountancy Ventura, 24(1), 63-77.
Themistocleous, M., Irani, Z., & Love, P. E. the 38th Annual Hawaii International Conference on System Sciences (pp. 228-228). IEEE.
Paul, V. M. T., & Devi, N. U. (2018). Psychological capital, outcome expectation and job performance: A Mediated model of innovative work behavior. International Journal for Research in Engineering Application & Management, 1(1), 52-60.
Kleysen, R. F. and Street, C. T. (2001). Toward a multi‐dimensional measure of individual innovative behavior. Journal of Intellectual Capital, 2 (3), 284-296.
Golemen, D. (1998). Working with Emotional Inelligence. New York : Bantam Book.
King, D. B and DeCicco, T. L. (2009). A viable model and self-report measure of spiritual intelligence.International Journal of Transpersonal Studies.,28, 68-85.
Rovinelli, R., & Hambleton, R. K. (1976). On the use of content specialists in the assessment of criterion- referenced test item validity. Washington, D.C. : ERIC.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1.พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
Nunnally, J. C. (1978) Psychometric theory (2nd Ed.). New York : McGraw-Hill.
ธานินทร์ ศิลป์ จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2550). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์(พิมพ์ครั้งที่18). กรุงเทพมหานคร: สุพีเรีย พริ้นติ้งเฮาส์.
ประสิทธิ์ สันติกาญจน์. (2551). การทดสอบข้อกำหนดเบื้องต้นของการวิเคราะห์เส้นโยง. BU Academic Review, 7(1), 27-45.
Zikmund, W. G., Babin, B. J., Carr, J. C., & Griffin, M. (2013). Business research methods (9th ed.). Singapore: Cengage Learning.
Martins, E. C., & Terblanche, F. (2003). Building organisational culture that stimulates creativity and innovation. European journal of innovation management.
Modassir, A., & Singh, T. (2008). Relationship of emotional intelligence with transformational leadership and organizational citizenship behavior. International Journal of Leadership Studies, 4(1), 3-21.
วีระวัฒน์ ปันนิตามัย. (2551).เชาวน์อารมณ์ (EQ) ดัชนีเพื่อความสุขและความสําเร็จของชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศักดิ์ชัย จันทะแสง และ กันตภณ ธรรมวัฒนา. (2559). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างความฉลาด ทางอารมณ์และการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของบุคลากร สายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 8(3), 130-144.
Green, W.N., and Noble, K. D. (2010). Fostering spiritual intelligence: Undergraduates’ growth in a course about consciousness.Advanced Development Journal,12(1), 26-49.
Lianying, Z. and Weijie, F. (2013). Improving performance of construction projects: a project manager’s emotional intelligence approach. Engineering, Construction and Architectural Management, 20 (2), 195-207.
Ebrahimpour, H., Hoseynnajad, N., Nemati, V., & Tagipour, F. (2015). A survey of the relationship between spiritual intelligence on teacher’s innovative behavior. Journal of School Psychology, 4(1), 7-21.