การสกัดปริมาตรน้อยด้วยการประยุกต์วิธีแคชเชอร์สำหรับวิเคราะห์อะคริลาไมด์ในผลิตภัณฑ์อาหาร
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการประยุกต์วิธีการสกัดแบบ QuEChERS เพื่อวิเคราะห์ปริมาณอะคริลาไมด์ในอาหารที่มีแปรรูปผ่านความร้อน ได้แก่ มันฝรั่งแผ่นทอด ขนมปังอบกรอบและกาแฟคั่วบด โดยใช้ตัวทำละลายอะซิโตไนไตรล์ ปริมาตร 2.50 มิลลิตร ในการสกัด ตัวอย่างจำนวน 2.00 กรัม ร่วมกับการเติมเกลือแมกนีเซียมซัลเฟต จำนวน 0.20 กรัม และโซเดียมคลอไรด์จำนวน 0.05 กรัม จากนั้นนำไปหมุนเหวี่ยงเป็นเวลา 3 นาที สารอะคริลาไมด์ในตัวอย่างจะถูกแยกออกมาอยู่ในชั้นตัวทำละลายอะซิโตไนไตรล์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถนำมาวิเคราะห์ปริมาณอะคริลาไมด์ด้วยเทคนิค HPLC ที่มีอะซิโตไนไตรล์ร้อยละ 4.0 โดยปริมาตร ทำหน้าที่เป็นเฟสเคลื่อนที่ จากการทดสอบคุณลักษณะทางเคมีวิเคราะห์ พบว่า ความใช้ได้ของวิธีมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ 0.998 ขีดจำกัดต่ำสุดของวิธีการวิเคราะห์ (LOD) เท่ากับ 1.48 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าความแม่นยำที่แสดงในรูป ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์ (%RSD) และค่าความถูกต้องในรูปร้อยละการกลับคืนอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ค่าปริมาณสารอะคริลาไมด์ที่พบในตัวอย่าง มีค่าน้อยกว่า 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร อย่างไรก็ตามแม้ว่ายังไม่มีเกณฑ์มาตรฐานสารอะคิลาไมด์ในอาหาร การตรวจหาปริมาณสารอะคริลาไมด์ในตัวอย่างที่ทดสอบ สามารถใช้เป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงสำหรับผู้บริโภค และผู้วิจัยในลำดับต่อไปอีกทั้งงานวิจัยนี้เป็นการเห็นถึงประสิทธิภาพการสกัดสารด้วยตัวทำละลายปริมาณน้อยโดยการประยุกต์การสกัดแบบแคชเชอร์แบบไม่ใช้ชุดสกัดแบบสำเร็จรูป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์ โดย สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1
306 หมู่ 5 ถนนมิตรภาพ หนองคาย-อุดรธานี ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 43000
โทร 0-4241-1445,0-4241-1447
ISSN : 3027-6861 (print) ISSN : 3027-687X (online)
References
สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม, อะคริลาไมด์. [Online]. http://fic.nfi.or.th/foodsafety/upload /damage/pdf/acrylamide_2.pdf. (เข้าถึงเมื่อ : 26 เมษายน 2566).
อาทิตยา จิตจำนง, “สารก่อมะเร็งในงานอุตสาหกรรม”, EAU HERITAGE JOURNAL (Science and Technology), ปีที่ 10 ฉบับที่ 2, หน้า 6-16, 2559.
จิตติมา เจริญพานิช, “สารอะคริลาไมด์ที่แฝงมากับ อาหารไทย”, วารสารวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ปีที่ 40 ฉบับที่ 4, หน้า 1059-1072, 2555.
ธรณิศวร์ ไชยมงคล และ ซีรวุฒิ วิทยา นันท์, “การพัฒนาวิธีการเตรียมตัวอย่างสำหรับการวิเคราะห์สารกำจัดศัตรูพืชตกค้างในอาหารที่ยากต่อการวิเคราะห์”, วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, ปีที่ 23 ฉบับที่ 3, หน้า 1426-1437, 2561.
นันทนา กลิ่นสุนทร, ตวงพร เข็มทอง และปริชญา มาประดิษฐ์. “การเตรียมตัวอย่างด้วยเทคนิคแคชเชอร์สำหรับการหาปริมาณสเตียรอยด์ที่ปลอมปนในยาลูกกลอนสมุนไพร”, วารสารอาหารและยา ฉบับเดือนมกราคม-เมษายน, ปีที่ 21 ฉบับที่ 1, หน้า 59-66, 2557.
Pormsila W, Jityongchai D, Tesphon W, “A modified QuEChERS extraction for the determination of dexamethasone”, European Scientific Journal, 10(33): 138-144, 2014.
ศศิประภา ชูช่วย, ประกรณ์ จาละ, ธนภูมิ มณีบุญ, ปารียา อุดมกุศลศรี และ ณัฐสิทธิ์ ตันสกุล. “การตรวจวิเคราะห์อะฟลาทอกซินบี 1 ในวัตถุดิบอาหารสัตว์โดยไม่ผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์ด้วยเครื่องโครมาโท กราฟีของเหลวสมรรถนะสูง”, วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ปีที่ 36 ฉบับที่ 2, หน้า 254-259, 2560.
พุทธมนต์ อัครฮาด และ อรุณโรจน์ ผจญศึก, การศึกษาการสกัดแบบแคชเชอร์สำหรับวิเคราะห์ปริมาณ อะคริลาไมด์ในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป, วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ, 2558.
จุฑาทิพย์ ลาภวิบูลย์สุข และ สมภพ ลาภวิบูลย์สุข, “การทดสอบหาปริมาณสารอะคริลาไมด์ในตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาหารทอดด้วยเทคนิคเมทริกซ์ โซลิด ดิสเพอชั่นและอัลตราไฮเพอร์ฟอร์แมนซ์ลิควิด โครมาโท กราฟีแทนเดมแมสสเปกโทรเมตรี”, วารสารผลงานวิชาการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, ปีที่ 11 ฉบับที่ 11, หน้า 21-34, 2565.
Zeng S, Xu T, Wang M, Yang C., “Determination in roasted coffee by UPLC-MS/MS”, In: Proceeding of the 3rd International Conference on Material, Mechanical and Manufacturing Engineering, 27-28 June 2015, page 376-379. Guangzhou, China, 2015.
Vesela H, Šucman E., “Determination of Acrylamide in Food Using Adsorption Stripping Voltammetry”. Czech J. Food Sci. 4: 401-406. 2013.
Nemoto S, Takatsuki S, Sasaki K, Maitani T. “Determination of Acrylamide in Foods by GC/MS Using 13C-labaled Acrylamide as an Internal Standard”. Journal of the Food Hygienic Society of Japan, 43(6): 371-376, 2002.
Pittet A, Perisset A, Oberson KM., “Trace level determination of acrylamide in cereal-based foods by gas chromatography-mass spectrometry”. Journal of Chromatography A, 1035(1): 123-130, 2004.