การพัฒนาเครื่องฝัดข้าวเปลือกขนาดเล็กสำหรับชุมชน

Main Article Content

ณัฐธิตา สวัสดี
พงศ์ธร พรหมบุตร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้มีการพัฒนาเครื่องฝัดข้าวเปลือกขนาดเล็กสำหรับชุมชนขึ้นเพื่อแก้ปัญหาของเครื่องแบบเดิมที่ใช้แรงงานคนในการหมุนพัดลมด้วยมือ ทำให้ลมที่ได้ไม่สม่ำเสมอส่งผลให้การฝัดข้าวเปลือกมีประสิทธิภาพต่ำ ผู้วิจัยจึงได้ออกแบบและสร้างเครื่องโดยติดตั้งมอเตอร์เป็นต้นกำลังสำหรับพัดข้าวเมล็ดลีบ ฟางข้าวและแกลบออกจากเมล็ดข้าวเปลือกเพื่อใช้สำหรับทำเมล็ดพันธุ์ ใช้คนควบคุมเพียงคนเดียว ซึ่งผลการทดลองจาการเตรียมข้าวเปลือกสำหรับทดลอง 15 กิโลกรัม เกิดจากการผสมข้าวเปลือกเมล็ดเต็ม 13 กิโลกรัม ข้าวเปลือกเมล็ดลีบ 1 กิโลกรัม และแกลบ 1 กิโลกรัม พบว่าการตั้งค่าที่เหมาะสมกับแรงลมและได้ผลการคัดแยกที่ดีที่สุดคือการเปิดสเกลการไหลของข้าวที่ 1 เซนติเมตร ได้อัตราการไหลของข้าวเปลือกทดลอง 3.67 กิโลกรัม/นาที  ความเร็วลมที่วัดได้อยู่ที่ 2.52 เมตร/วินาที สามารถคัดแยกข้าวเปลือกเมล็ดเต็ม 12.96 กิโลกรัม คิดเป็น 99.69% ข้าวเปลือกเมล็ดลีบ 0.92 กิโลกรัม คิดเป็น 92% แกลบ 0.97 กิโลกรัม โดยมีน้ำหนักของข้าวเปลือกหายไปเนื่องจากการฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง 0.15 กิโลกรัม โดยเวลาเฉลี่ย 4.09 นาที ผลประเมิน คุณภาพของเครื่องฝัดข้าวเปลือกขนาดเล็กสำหรับชุมชนขนาดเล็กสำหรับชุมชนโดยภาครวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=4.37) หากพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าผู้ใช้งานมีความพึงพอใจเครื่องฝัดข้าวเปลือกขนาดเล็กสำหรับชุมชนเรียงจากมากไปหาน้อยได้แก่ ด้านการใช้งาน (gif.latex?\bar{x}=4.38) รองลงมาด้านโครงสร้างและ ด้านการผลิต (gif.latex?\bar{x}=4.37)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการค้าข้าว (2559).[ออนไลน์]. เครื่องจักรกลและเขตกรรม. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กรกฏาคม 2564]. จาก https://www.ricethailand.go.th/rkb3/title-index.php-file=content.php&id=001.htm.

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (8กันยายน2560).ข้าวไทย.มาตรฐานสินค้าเกษตร. 4.

สาคร ปานจีน, วรสุช เสาร์ศรีน้อย, ซูรีนา เบ็นยูโซ๊ะ.(สิงหาคม2557). คู่มือการทำนา. วิทยาลัยชุมชนนราธิวาส.

ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวราชบุรี (2562). [ออนไลน์].การปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์. ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวราชบุรี.สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กรกฏาคม 2564].จาก https://rbrrsc.ricethailand.go.th/page.php?pid=4688.

วริทธิ์ อึ๊งภากรณ และชาญ ถนัดงาน, การออกแบบเครื่องจักรกล, พิมพครั้งที่ 10, กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น,2534.

รุ่งทวี ผดากาล, “ผลของเวลาและอัตราการไหลของอากาศต่อการแยกสิ่งเจือปนจากเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยใช้เครื่องคัดแยกสำหรับครัวเรือน” แก่นเกษตร46, ฉบับพิเศษ1,2561, น.445-450.

บุญชม ศรีสะอาด, 2560, การวิจัยเบื้องตน, พิมพครั้งที่10, กรุงเทพ: สุวีริยาสาสน, น.66-74.

ลวน สายยศ และอังคณา สายยศ, “เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา”, พิมพครั้งที่ 5, กรุงเทพ: สุวีริยาสาสน,น. 73, 2544.