การศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี ของธุรกิจในจังหวัดหนองบัวลำภู
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อ การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีของธุรกิจในจังหวัดหนองบัวลำภู เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม ผลการวิเคราะห์ความเที่ยงตรงความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (IOC) เท่ากับ 0.895 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.811 ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 169 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน ได้แก่ F-test (ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง อายุ 31 - 40 ปี ระดับทางการศึกษา ปริญญาตรี ประสบการณ์ทำงาน 10 - 15 ปี และตำแหน่งงาน ลูกจ้าง ข้อมูลทั่วไปของธุรกิจ พบว่า รูปแบบธุรกิจส่วนใหญ่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ประเภทธุรกิจซื้อมาขายไป และระยะเวลาการดำเนินงาน มากกว่า 15 ปี ความพึงพอใจที่มีต่อการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีของธุรกิจในจังหวัดหนองบัวลำภู โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านคุณภาพและประสิทธิภาพในการทำงานของโปรแกรม ( = 4.56, S.D.=0.63) รองลงมาคือ ด้านฟังก์ชันและความสามารถของซอฟต์แวร์ ( = 4.30,S.D.=0.73) ด้านความเข้ากันได้ของระบบปฏิบัติการและโปรแกรมอื่น ( = 3.97, S.D.=0.84) ด้านราคา ( = 3.92, S.D.=0.79) และด้านผู้ขาย ( = 3.91, S.D.=0.73) ตามลำดับนักบัญชีธุรกิจในจังหวัดหนองบัวลำภู ที่มีประสบการณ์ทำงาน มากกว่า 15 ปี และ 10 - 15 ปี มีความพึงพอใจโดยรวมมากกว่า นักบัญชีธุรกิจในจังหวัดหนองบัวลำภู ที่มีประสบการณ์ทำงาน 5 - 10 ปี และน้อยกว่า 5 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์ โดย สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1
306 หมู่ 5 ถนนมิตรภาพ หนองคาย-อุดรธานี ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 43000
โทร 0-4241-1445,0-4241-1447
ISSN : 3027-6861 (print) ISSN : 3027-687X (online)
References
สุภาภรณ์ ทับเทศ และฉัตรพล มณีกูล, ความสามารถในการประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีที่มีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานด้านการบัญชี, วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 , 2563.
ฐานันดร์ เกตุแก้ว, “การพัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ”, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, ค้นคว้า อิสระ, วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ, 2559.
ณัฐพัชร์ อภิวัฒน์ไพศาล, ปัจจัยพยากรณ์การตัดสินใจเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีในเขตนิคมอุตสาหกรรมนวนคร จังหวัดปทุมธานี, วารสารศิลปะ ศาสตร์และวิทยาการจัดการ 1, ปีที่ 9 ฉบับที่ 1, 2565.
สุมินทร เบ้าธรรม, วิจัยทางการบัญชี (Accounting Research), บริษัท ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น จำกัด, 2558.
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง, สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดหนองบัวลำภู, 2563.
สุรพงษ์ คงสัตย์ และ ธีรชาติ ธรรมวงค์, “ค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามของแต่ละข้อกับจุดประสงค์ของเนื้อหา IOC”, [Online] https://www.mcu.ac.th/article/detail/14329. (เข้าถึงเมื่อ: 21 ตุลาคม 2566).
ไพศาล วรคำ, อ้างถึงในจักรพงษ์ แผ่นทอง, “การหาค่าความเชื่อมั่น ของแบบสอบถาม”, [Online] https://krujakkrapong.com. (เข้าถึงเมื่อ: 21 ตุลาคม 2566)
สุภาภรณ์ ทับเทศ และฉัตรพล มณีกูล, “ความสามารถในการประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีที่มีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานด้านการบัญชี”, วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, ปีที่ 7 ฉบับที่ 2, 2563.