การออกแบบและสื่อสารแบรนด์ผลิตภัณฑ์หลอดราโพ

Main Article Content

สิริกร ช่วยชู
เบญจวรรณ อารักษ์การุณ

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องการออกแบบและสื่อสารแบรนด์ผลิตภัณฑ์หลอดราโพ มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสื่อสารแบรนด์ผลิตภัณฑ์หลอดราโพที่ทำจากต้นราโพในพื้นที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 3 กลุ่ม จำนวน 31 คน ดังนี้ 1) กลุ่มผู้ผลิต แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 2 คน ได้แก่ ผู้เก็บเกี่ยวต้นราโพ ผู้ตัดเป็นหลอด ผู้ดำเนินการผลิตและบรรจุ และผู้จำหน่าย 2) กลุ่มผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ อันเป็นตัวแทนจำนวนทั้งหมดของผู้บริโภคหลักในปัจจุบัน และ 3) กลุ่มผู้คาดว่าจะใช้ผลิตภัณฑ์ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 3 คน ได้แก่ กลุ่มคนรักษ์โลก กลุ่มคนต้องการสร้างภาพลักษณ์ให้กับแบรนด์ กลุ่มคนนิยมของแปลกใหม่ กลุ่มคนสนับสนุนชุมชน และกลุ่มคนมีแนวคิดทันสมัยต้องการตามกระแสผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มผู้ผลิตมีความต้องการเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์เป็นหลัก 2) กลุ่มผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ต้องการให้บรรจุภัณฑ์มีความสอดคล้องกับผลิตภัณฑ์มากยิ่งขึ้น 3) กลุ่มผู้คาดว่าจะใช้ผลิตภัณฑ์มีความต้องการเปลี่ยนจากการใช้หลอดพลาสติกเป็นหลอดที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ แต่รู้จักหลอดที่ทำจากวัสดุธรรมชาติน้อย หากกลุ่มผู้ผลิตสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับหลอดราโพได้มากขึ้นจะช่วยให้กลุ่มผู้คาดว่าจะใช้ผลิตภัณฑ์ได้รับความรู้และส่งผลสู่การตัดสินใจซื้อได้ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้ดำเนินการออกแบบตราสินค้า บรรจุภัณฑ์ และสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบแผ่นพับที่เข้ากับแบรนด์สินค้า ซึ่งได้รับจากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบว่า ภาพรวมของการออกแบบเหมาะสมกับภาพลักษณ์ของแบรนด์ โทนสีที่ใช้ การจัดวางรูปภาพ เนื้อหา และตราสินค้า มีความน่าสนใจ เหมาะสม และสามารถสื่อความหมายถึงผลิตภัณฑ์หลอดราโพได้อย่างครบถ้วน นอกจากนี้แล้ว ทางผู้เชี่ยวชาญได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติมว่า หากปรับโทนสีหรือดึงโทนสีอื่นให้งานออกแบบมีโทนสีเด่นเพิ่มขึ้นจะช่วยให้การออกแบบโดดเด่นและสามารถดึงดูดความสนใจจากกลุ่มผู้บริโภคได้มากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Move World Together, “หลอดพลาสติก, ขยะชิ้นเล็กที่สังคมไม่ควรมองข้าม” [ออนไลน์].http://www.moveworldtogether.com/TH/articledetail.php?ID=22. (เข้าถึงเมื่อ : 20 กันยายน 2565).

ชัยยศ ยงค์เจริญชัย, มาเรียม, “การจากไปของมาเรียมกับ 3ภัยคุกคามในมุมมองของ ดร.ธรณ์” [online].https://www.bbc.com/thai/thailand-49379631.(เข้าถึงเมื่อ : 20 กันยายน 2565).

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, “เกาะติดปัญหาขยะพลาสติก หลังโควิด-19 ระลอกใหม่” [ออนไลน์].https://infotrash.deqp.go.th/knowledge/62. (เข้าถึงเมื่อ : 21 กันยายน 2565).

Dozzo Flamenco, “สีเอิร์ธโทนและการนำไปใช้”,[online]. https://www.dozzdiy.com/. (เข้าถึงเมื่อ : 1 พฤศจิกายน 2566).

มนตรี ดวงจิโน, “การใช้ตัวอักษร”, [ออนไลน์].http://www.bspc.ac.th/files/2106162121441265_22070714144921.pdf. (เข้าถึงเมื่อ : 1 พฤศจิกายน

.

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, “ประเภทของสื่อประชาสัมพันธ์”, [ออนไลน์]. https://elcca.ssru.ac.th/rewadee_wa/pluginfile.php/473/mod_resource/content/1/. (เข้าถึงเมื่อ : 1 พฤศจิกายน 2566).

กษมา สุรเดชา อนุ ธชยะพงษ์ และกันยา มั่นคง, “การออกแบบตราสินค้าและพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์กล้วยอบเนย ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

หมูสวรรค์หมูไทยศรีโยธิน,” วารสารพิกุล, ปีที่ 18, ฉบับที่1, หน้า 229-236, มกราคม-มิถุนายน, 2563.

มิยอง ซอ, “การออกแบบตราสัญลักษณ์และบรรจุภัณฑ์สำหรับวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ขนุน ตำบลหนองเหียง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี,” สารนิพนธ์, มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี, 2563.

คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, “การศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นโปรแกรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในรูปแบบของแอปพลิเคชันกับการส่งเสริมในรูปแบบของสื่อสิ่งพิมพ์”, [online]. https://research.rmutt.ac.th/2017/09/28/.

(เข้าถึงเมื่อ : 1 พฤศจิกายน 2566).

อนุสรา เรืองโรจน์และอริสสา สะอาดนัก, “อิทธิพลของการทำการตลาดเชิงเนื้อหาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจให้ผู้บริโภคใช้

บริการ แอปพลิเคชัน Viu” , สารนิพนธ์, มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ, 2563.

กานต์ นวลน้อย, “การทำการตลาดเชิงเนื้อหา (Content Marketing) บนโซเชียลมีเดียที่มีผลต่อการที่ผู้บริโภคมีความผูกพันซึ่งนำไปสู่ทัศนคติ ต่อแบรนด์ Mo-MoParadise”, สารนิพนธ์ กจ.ม., มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ, 2565.

ธนภัทร์ วุทธานันท์, “การศึกษาพัฒนาแผ่นพับประชาสัมพันธ์ในโครงการบริจาคดวงตา โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล”, สารนิพนธ์ กจ.ม., มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ, 2561.