การพัฒนาสื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีความจริงเสริมร่วมกับกระบวนการวิจัยเป็นฐาน รายวิชา การวิเคราะห์วงจรอิเล็กทรอนิกส์เพื่อพัฒนาทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรม

Main Article Content

วรรณวิศา วัฒนสินธุ์
ดวงกมล อังอำนวยศิริ
กมลวรรณ วงศ์วุฒิ
กิตติพงศ์ นวลใย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้ นำเสนอการพัฒนาสื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีความจริงเสริมร่วมกับกระบวนการวิจัยเป็นฐาน รายวิชา การวิเคราะห์วงจรอิเล็กทรอนิกส์เพื่อพัฒนาทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีความจริงเสริมร่วมกับกระบวนการวิจัยเป็นฐาน รายวิชา การวิเคราะห์วงจรอิเล็กทรอนิกส์ 2) พัฒนาทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรม หลังเรียนด้วยสื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีความจริงเสริมร่วมกับกระบวนการวิจัยเป็นฐาน รายวิชา การวิเคราะห์วงจรอิเล็กทรอนิกส์ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อสื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีความจริงเสริมร่วมกับกระบวนการวิจัยเป็นฐานรายวิชา การวิเคราะห์วงจรอิเล็กทรอนิกส์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ระดับชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ที่ทำการเรียนในรายวิชาการวิเคราะห์วงจรอิเล็กทรอนิกส์ และมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ระดับชั้นปีที่ 1 กลุ่ม 3-4 สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม จำนวน 30 คน โดยกำหนดขนาดของกลุ่มเป้าหมาย แบบเจาะจง (Purposive Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีความจริงเสริมร่วมกับกระบวนการวิจัยเป็นฐาน รายวิชา การวิเคราะห์วงจรอิเล็กทรอนิกส์ ประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก ( = 4.53, S.D.= 0.52) และด้านเทคนิคการผลิตสื่ออยู่ในระดับดีมาก (equation = 4.53, S.D.= 0.50) 2) ทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรม หลังเรียนด้วยสื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีความจริงเสริมร่วมกับกระบวนการวิจัยเป็นฐาน รายวิชา การวิเคราะห์วงจรอิเล็กทรอนิกส์ มีค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรมอยู่ในระดับมาก (equation = 52) 3) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อสื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีความจริงเสริมร่วมกับกระบวนการวิจัยเป็นฐานรายวิชา การวิเคราะห์วงจรอิเล็กทรอนิกส์ อยู่ในระดับมากที่สุด (equation = 4.66, S.D.= 0.51)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์. 2559. การศึกษาไทย 4.0 ในบริบทการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทรา

ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์แจ้งวัฒนะ.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. 2559. วิธีวิทยาการประเมิน : ศาสตร์แห่งคุณค่า (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Partnership for 21st Century Skills. (2014). Learning for the 21st century: A Report and MILE Guide for 21st century skills. Retrieved

January 7, 2021, from www.21stcenturyskills.org.

Cagdas Erbas and Veysel Demirer. (2019). The effects of augmented reality on students' academic achievement and motivation

in a biology courset. Available from https://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/jcal.12350.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์.2551.ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพค์รั้งที่ 10 ).กรุงเทพมหานคร : จามจุรีโปรดักท์.

ปริญญา ขัติยนนท์และสุวิชัย พรรษา. (2561). รูปแบบสื่อปฏิสัมพันธ์ เรื่อง บรรยากาศโลก เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ส าหรับเด็ก ภาพการเรียนรู้ของนักเรียนชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 1. มหาสารคาม: คณะวิทยาการสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2543. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพค์รั้งที่ 7) .กรุงเทพมหานคร : สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Battelle for Kids. (2019). Partnership for 21st Century Learning A Network of Battelle for Kids: Framework for 21st Century Learning

Definitions. Retrieved January 22, 2021 , from https://static. battelleforkids.org/ documents/p21/ P21_Framework_ DefinitionsBFK.pdf

Y.H. Hung, C.H. Chen and S.W. Huang. (2016). Applying augmented reality to enhance learning: a study of different teaching

materials. Availablefrom https://onlinelibrary.wiley.com/doi/full/10.1111/jcal.12173.