การเดินทางสู่ความเป็นเลิศของอาชีวศึกษา : การสร้างนโยบายที่ยั่งยืน ที่มุ่งเป้าหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ

Main Article Content

ยศพล เวณุโกเศศ

บทคัดย่อ

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีนโยบายในการขับเคลื่อนการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูง เพื่อการพัฒนาประเทศ โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีแนวคิดในการจัดการอาชีวศึกษาโดยการส่งเสริมศักยภาพครูและบุคลากรอาชีวศึกษา มุ่งพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาชน มีแนวทางการทำงานแบบ “OVEC ONE Team” คือ สานงานต่อ ก่อเริ่มงานใหม่ ด้วยหัวใจเดียวกัน ภายใต้นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พลตำรวจเอกเพิ่มพูน ชิดชอบ ได้กำหนดนโยบายการพัฒนาอาชีวศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยได้มาจากการวิเคราะห์นโยบาย การศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องนำมาสู่นโยบายที่ยั่งยืน ที่มุ่งเป้าหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ “8 วาระงานพัฒนาอาชีวะ (8 Agenda)”ได้แก่ ส่งเสริมการเรียนรู้อาชีวศึกษาทุกที่ทุกเวลา (Anywhere Anytime) พัฒนาทักษะวิชาชีพเพื่อลดภาระของผู้เรียนและผู้ปกครอง (Skill Certificate) ยกระดับคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษาสมรรถนะสูง พัฒนาระบบการเทียบระดับการศึกษาและคลังหน่วยกิตอาชีวศึกษา (Credit Bank) พัฒนาทักษะทางภาษาเพื่อการศึกษาและทำงาน (Language Skills) สร้างช่างชุมชน เพื่อให้ประชาชนมีอาชีพเสริม (1 วิทยาลัย 1 ศูนย์ช่างชุมชน) เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคลและการบริหารจัดการ และเสริมสร้างภาพลักษณ์อาชีวศึกษายุคใหม่สามารถนำมาบริหารจัดการ เพื่อพัฒนาสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รวมทั้งหน่วยงานในสังกัดและภาคีเครือข่ายให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล และเพิ่มศักยภาพของกำลังคนอาชีวศึกษา เพื่อการแข่งขันของตลาดโลก เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน และพัฒนาประเทศต่อไป

Article Details

บท
บทความพิเศษ

References

กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, “โครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ”, สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ[ออนไลน์]. เว็บไซต์: www.ops.moe.go.th. (เข้าถึงเมื่อ: 2 พฤศจิกายน 2566).

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, “รายงานสถานศึกษาจำแนกตามประเภทสถานศึกษา”, สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา[ออนไลน์]. เว็บไซต์: www.vec.go.th. (เข้าถึงเมื่อ: 2 พฤศจิกายน 2566).

บัลลังก์ โรหิตเสถียร, “รมว.ศธ.แถลงนโยบายการศึกษา “เรียนดี มีความสุข””, ศธ.360องศา[ออนไลน์]. เว็บไซต์: https://moe360.blog (เข้าถึงเมื่อ: 2 พฤศจิกายน 2566).

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, “นโยบายจุดเน้น สอศ. ปีงบประมาณ 2567”, สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา[ออนไลน์]. เว็บไซต์: www.vec.go.th. (เข้าถึงเมื่อ: 2 พฤศจิกายน 2566).

สาวิตรี มูลเฟย, เชษฐภูมิ วรรณไพศาล และนันท์นภัส แสงฮอง, “การพัฒนานวัตกรรมส่งเสริมการเรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรมในวิถีความปกติใหม่ สำหรับนักศึกษาชาติพันธุ์ในสถาบันอาชีวศึกษา จังหวัดเชียงใหม่,” วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, ปีที่ 23, ฉบับที่ 1, หน้า 87-98, มกราคม-มีนาคม, 2566.

สายสิริ สายยศ, “กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาด้วยระบบสารสนเทศเพื่อรองรับยุคโลกพลิกผัน (VUCA World) วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์,” วารสารสหวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, ปีที่ 6, ฉบับที่ 2,หน้า 141-158, กรกฎาคม-ธันวาคม, 2565.

ทัศน์พล แก้วเพชรบุตร และวิภาดา ประสารทรัพย์, “การบริหารวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของผู้เรียน,” การประชุมวิชาการเพื่อนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 4 “GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2022 iHappiness: ความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนในยุคสังคมดิจิทัล”, จังหวัดสมุทรสงคราม, 1372-1378, สิงหาคม, 2565.

อิทธิพัทธ์ สมจู และคณะ, “ปัญหาและความต้องการในการบริหารจัดการเพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูง ตามบริบทวิทยาลัยขนาดเล็ก เพื่อตอบสนองการพัฒนาประเทศ กรณีศึกษาวิทยาลัยการอาชีพอุดรธานี,” วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา, ปีที่ 7, ฉบับที่ 1, หน้า 107-113, มกราคม-มิถุนายน, 2566.

สุพรรษา อเนกบุณย์, “การพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพระดับหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ

ของสถานศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษา,” ดุษฎีนิพนธ์ ปร.ด. (วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา), มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560.

สำนักข่าว EDUNEWSSIAM ONLINE, “สอศ.ร่วมมือศูนย์อาชีวศึกษาBishan และ BYD ประเทศจีนผลิตกำลังคนอาชีวะด้านยานยนต์ไฟฟ้าสู่โลกอุตสาหกรรมใหม่”, สำนักข่าว EDUNEWSSIAM ONLINE [ออนไลน์]. เว็บไซต์: https://www.edunewssiam.com/th/articles/283483 (เข้าถึงเมื่อ: 3 พฤศจิกายน 2566).

Boonrung Nojai บ. โ. and (Dr.Weerakul Chaiphar) ด. ช., “รูปแบบการส่งเสริมอาชีพช่างฝีมือระดับชุมชน ในท้องถิ่นจังหวัดขอนแก่น(Model of Career Promotion for Local Community Skill Workers in Khonkaen Province)”, GS KKU HS, vol. 2, no. 3, pp. 14–22, Feb. 2015.

พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ, ปภาภัทร แสงแก้ว และปรางทิพย์ เสยกระโทก, “แนวทางการเสริมสร้างองค์กรแห่งความสุขของสถาบันการอาชีวศึกษาในภาคใต้ของประเทศไทย,” วารสารวิจัยและนวัตกรรมอาชีวศึกษา, ปีที่ 7, ฉบับที่ 1, หน้า 78-88, มกราคม-มิถุนายน, 2566.