ส่วนผสมทางการตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนบ้านเสมา ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

อมรรัตน์ ไชยวงษ์
ลินจง โพชารี

บทคัดย่อ

จากการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาส่วนผสมทางการตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนบ้านเสมา ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการผสมผสานกันระหว่างวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งได้แก่ แบบสอบถาม โดยศึกษาจากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยว และประชาชนในชุมชนบ้านเสมา ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 163 คน และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่โดยศึกษาจากประชาชนในหมู่บ้านเสมา บุคลากรจากองค์กรของรัฐ และภาคเอกชนที่เป็นกลุ่มผู้ประกอบการ และวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคทางสถิติคือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า


          นักท่องเที่ยวชาวไทยมีความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวกับส่วนประสมทางการตลาดการท่องเที่ยว บ้านเสมา อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน


              แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่เหมาะสมต่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม บ้านเสมา ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า 1) การประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลประจำปี ควรใช้รูปแบบออนไลน์ เช่น Face Book, Website, Tiktok, Instagram, Twitter เนื่องจากเป็นช่องทางที่เป็นที่นิยมและเข้าถึงง่าย 2) การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อจำหน่ายเป็นของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยว ควรได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากหน่วยงานของภาครัฐ โดยมีการจัดให้มีวิทยากรฝึกพัฒนารูปแบบของสินค้าในชุมชม ผลิตภัณฑ์ต่างๆ และ 3) การพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว  ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้มีกิจกรรมการสำหรับนักท่องเที่ยวได้ทดลองทำธุงที่ระลึก ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของการเดินทางมาท่องเที่ยวที่หมู่บ้านเสมา อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับนักท่องเที่ยว และทำให้เกิดการรับรู้ทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของท้องถิ่นอย่างแท้จริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยว, แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของประเทศไทย พ.ศ. 2564, บริษัทพีดับบลิว ปริ้นติ้ง จำกัด, 2564.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์, “แผนส่งเสริมการท่องเที่ยว ประจำปีงบประมาณ 2562 - 2565”, สำนักปลัด ฝ่ายพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว

งานประชาสัมพันธ์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์, 2565.

กริชกมล เหล่าอรรคะ, “บทบาทของเทศบาลตำบลหัวขวางในการพัฒนาการ มีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น”, การศึกษาค้นคว้าอิสระ,

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย มหาสารคาม, มหาสารคาม, 2550.

กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม,“COVID-19 ต่อภาคการท่องเที่ยวไทย ผลกระทบและแนวทางการแก้ปัญหา”, ปีที่ 1, ฉบับที่ 1/2564, หน้า 3, 2564.

กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์, “สถานการณ์ท่องเที่ยวไทย”, Thairat money, [Online]. https://www.thairath.co.th/money/economics/thailand_econ/2764434. (เข้าถึงเมื่อ : วันที่ 4 มกราคม 2567)

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, “สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศไทย รายจังหวัดปี 2566 (Domestic Tourism Statistics (Classify by region and province 2023))”, [Online]. https://www.mots. go.th/news/category/705. (เข้าถึงเมื่อ : วันที่ 4 มกราคม 2567)

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแปน, “ข้อมูลทั่วไปบ้านเสมา ตำบลหนองแปน อำเภอกมลไสย จังหวัดกาฬสินธุ์”, [Online]. http://www.pasukplus.com/informations/, (เข้าถึงเมื่อ : วันที่ 25 กันยายน 2566).

Krejcie, R.V, and Morgan, D.W., “Determining Sample Size for Research activities”, Educational and Psychological Measurement, Vol.30, No.2, p607, 1970.

กนกวรรณ ศิลสว่าง, “แนวทางพัฒนาส่วนประสมการตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดราชบุรี”, วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, ปีที่ 6, ฉบับที่ 2, หน้า 131-146, 2562.

ประภัสสร โสรมรรค, “ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวย่านประวัติศาสตร์อย่างยั่งยืนของห้าแยกน้ำพุ ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี”, วารสารการการท่องเที่ยวไทนานาชาติ, ปีที่ 18, หน้า 26-44, 2565.

ศิริพร ถาวรวิสิทธิ์ และคณะ, “แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดน่าน”, วารสารสมาคมนักวิจัย, ปีที่ 26, หน้า 244-256, 2564.

กิติยา พฤกษากิจ, “แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษา ตำบลจันทเขลม อำเภอเขาคิชฌกูฏ”, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, ปีที่ 10, หน้า 72-101. 2561.

นันทิสรา วุฑฒิกรรมรักษา, “ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการเลือกท่องเที่ยวในเมืองรองของภาคเหนือตอนบนจังหวัดเชียงราย ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน น่าน แพร่ และพะเยา”, วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพมหานคร, 2561.