การพัฒนาระบบดูแลผู้เรียนอาชีวศึกษา เพื่อขับเคลื่อนนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” ของ กระทรวงศึกษาธิการ การพัฒนาระบบดูแลผู้เรียนอาชีวศึกษา เพื่อขับเคลื่อนนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” ของ กระทรวงศึกษาธิการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ได้กำหนดจุดมุ่งหมายและหลักการจัดการศึกษา ไว้ว่า ต้องเป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญาความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แถลงนโยบายการศึกษา และแนวทางการขับเคลื่อนนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566 โดยมีการมอบนโยบายว่า การดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะอยู่ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี รวมทั้งนำนโยบายของรัฐบาลมาขับเคลื่อน เพื่อร่วมกันยกระดับคุณภาพการศึกษาเต็มกำลังความสามารถอย่างเป็นกัลยาณมิตรต่อกัน ภายใต้แนวทางการทำงาน “จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน” และใช้สำนวนที่เข้าใจง่ายคือ “เรียนดี มีความสุข” เพื่อเดินทางยกระดับคุณภาพการศึกษาไปด้วยกัน ซึ่งการเรียนการสอนจำเป็นต้องเริ่มจากความสุขทั้งผู้เรียน ผู้สอน และผู้ปกครอง เมื่อมีความสุขจะส่งผลให้การเรียนดีขึ้น เมื่อการเรียนดีขึ้นจะส่งผลกลับไปทำให้มีความสุขมากยิ่งขึ้น แนวคิดในการจัดการศึกษาแบ่งเป็น 2 ข้อหลัก คือ การศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ และ การศึกษาเพื่อความมั่นคงของชีวิต โดยกำหนดวิสัยทัศน์กระทรวงศึกษาธิการ ว่า ภายในปี 2570 ผู้เรียนทุกช่วงวัยได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม มีทักษะที่จำเป็น พร้อมเรียนรู้ตลอดชีวิต และปรับตัวสอดคล้องกับวิธีชีวิตโลกยุคใหม่
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์ โดย สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1
306 หมู่ 5 ถนนมิตรภาพ หนองคาย-อุดรธานี ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 43000
โทร 0-4241-1445,0-4241-1447
ISSN : 3027-6861 (print) ISSN : 3027-687X (online)
References
กระทรวงศึกษาธิการ, พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และการวิเคราะห์สาระสำคัญ, กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ, 2542.
บัลลังก์ โรหิตเสถียร, “รมว.ศธ.แถลงนโยบายการศึกษา “เรียนดี มีความสุข””, ศธ.360องศา[ออนไลน์]. เว็บไซต์: https://moe360.blog/2023/09/14/minister-ed-statement-ed-policy/. (เข้าถึงเมื่อ: 4 ตุลาคม 2566).
โชคชัย อาษาสนา, “ปัญหาและแนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนของโรงเรียนทุ่งเหียงพิทยาคม จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18,” งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา, กรุงเทพฯ, 2555.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์, 2547.
พุทธชาติ สร้อยสน. “การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการลดปัญหาการออกกลางคันของผู้เรียน
ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพในสถานศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือ หนองคาย,” การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 55, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2560.
รัชฎาภรณ์ เที่ยงสุข และวีณา จีระแพทย์, “ประสบการณ์ของผู้ดูแลในการดูแลเด็กวัยเรียนกลุ่มอาการดาวน์,” วารสารการพยาบาลและการศึกษา, ปีที่ 8, ฉบับที่ 1, หน้า 166, มกราคม – มีนาคม, 2558.
ลักขณา ภูมาตนา. “สภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ,” วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, ศรีสะเกษ, 2559.
ปรมาภรณ์ สนธิ และพิมลพรรณ เพชรสมบัติ, “แนวทางการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียนระดับประถมศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี,” บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, ปีที่ 7, ฉบับที่ 2, หน้า 47-60, พฤษภาคม – สิงหาคม, 2562.
กนกวรรณ สุภาราญ, “จิตวิทยาเชิงบวกว่าด้วยเรื่องการเรียนรู้ตามความถนัด การเรียนรู้อย่างมีความสุข”, EDUCA[ออนไลน์]. เว็บไซต์: https://www.educathai.com/knowledge/articles/410. (เข้าถึงเมื่อ: 6 ตุลาคม 2566).
สุวรรณา นาควิบูลย์วงศ์, “โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการเรียนรู้อย่างมีความสุขตามแนวปฏิรูปการศึกษาของนักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาสันฏิราษฎร์,” วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, ปีที่ 13, ฉบับที่ 1, หน้า 112-121, มกราคม – มิถุนายน, 2556.