การออกแบบและหาประสิทธิภาพกระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบ “MAIDE MODEL” มุ่งเน้นฐานสมรรถนะเพื่อเตรียมเข้าสู่อาชีพสากล

Main Article Content

คมกริช แสงสุรินทร์

บทคัดย่อ

การออกแบบกระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบ  “MAIDE MODEL” มุ่งเน้นฐานสมรรถนะเพื่อเตรียมเข้าสู่อาชีพสากล รายวิชาระบบควบคุมในงานอุตสาหกรรมนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 2 สาขางานไฟฟ้ากำลัง  สาขาวิชาไฟฟ้า แผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยเทคนิคเชียงราย สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 2 สำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา พบว่า 1) การออกแบบกระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบ “MAIDE MODEL” มุ่งเน้นฐานสมรรถนะเพื่อเตรียมเข้าสู่อาชีพสากล จำนวน 9 หน่วย มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.72/85.53 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2) นักศึกษาที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบ “MAIDE MODEL” มุ่งเน้นฐานสมรรถนะเพื่อเตรียมเข้าสู่อาชีพสากลมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความคิดเห็นของครูที่มีต่อคุณภาพของกระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบ “MAIDE MODEL” มุ่งเน้นฐานสมรรถนะเพื่อเตรียมเข้าสู่อาชีพสากล อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด และ 4) ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อคุณภาพของกระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบ “MAIDE MODEL” มุ่งเน้นฐานสมรรถนะเพื่อเตรียมเข้าสู่อาชีพสากล อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด

Article Details

How to Cite
แสงสุรินทร์ ค. (2024). การออกแบบและหาประสิทธิภาพกระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบ “MAIDE MODEL” มุ่งเน้นฐานสมรรถนะเพื่อเตรียมเข้าสู่อาชีพสากล . วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา, 8(2), 171–182. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ve-irj/article/view/273094
บท
บทความวิจัย

References

อัจศรา ประเสริฐสิน กมลทิพย์ ศรีหาเศษ และอารีรัตน์ ลาวน้อย, “แนวทางการวัดและประเมินผลฐานสมรรถนะในศตวรรษที่ 21”, วารสารการวัดผล

การศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม”, ปีที่ 27,หน้า 16-31, พ.ศ. 2564.

สุดารัตน์ จงบูรณสิทธิ์, “การใช้รูปแบบการสอน ADDIE Model เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนให้สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21”, การประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 2, หน้า 667, พ.ศ.2550.

ณัฐพล ธนเชวงสกุล, และณมน จีรังสุวรรณ, “การออกแบบรูปแบบการเรียนการสอนด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบ MIAP บนเทคโนโลยีการประมวลผลแบบคลาวด์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21”, วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, ปีที่ 20, หน้า 58-69, พ.ศ.2561.

ล้วน สายยศ, และอังคณา สายยศ, เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา, สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น, พ.ศ. 2538,หน้า 73.

เสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต, เทคโนโลยีทางการศึกษา, โรงพิมพ์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ,พ.ศ. 2538, หน้า 294-295.

กานดา พูนทวี, การวัดและประเมินผลการศึกษา, ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า

พระนครเหนือ. ม.ป.ท., พ.ศ.2539, หน้า 55.

สมดี อนันต์ปฏิเวธ วารุณี ทับทิมทอง, และอุไรวรรณ ซินมุข, “การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ตามแนวคิด ADDIE Model เรื่อง การพยาบาลทารกเกิดก่อน

กำหนดที่มีภาวะเสี่ยงสูง”, วารสารการพยาบาลและการศึกษา, ปีที่ 14, หน้า 64-76, พ.ศ. 2564.

กรนิษฐ์ ชายป่า พิงพร ศรีแก้ว, และศิวพร จติกุล, “การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติโดย ADDIE MODEL”, วารสารวิทยาลัยสงฆ์นคร

ลำปาง, ปีที่ 11, หน้า 53-64, พ.ศ. 2565.

ชาญชัย แฮวอู, “การพัฒนาชุดการสอนฐานสมรรถนะหลักสูตรรายวิชาการทดสอบงานเชื่อมโดยไม่ทำลาย รหัสวิชา 30106-2103 สาขางานตรวจสอบและ

ทดสอบงานเชื่อม หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปวส.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา”,วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1,

ปีที่ 7, หน้า 91-100, พ.ศ. 2565.

โสธิดา เชื้อนาค, “การพัฒนาชุดการสอน สื่อประสม IPCA Model สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก”,

วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3,ปีที่ 3, หน้า 41-58,พ.ศ. 2562.

เนาวรัตน์ รอดเพียน, “กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ PRACT Model ที่ส่งผลต่อคุณภาพ การเรียนรู้แบบ Active Learning ของนักเรียนนักศึกษา วิทยาลัย

อาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจ”, กรุงเทพมหานคร,วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจ, พ.ศ. 2560.