การศึกษาสภาพปัญหาสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูอาชีวศึกษา ของสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาสมรรถนะที่จำเป็นครูอาชีวศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ ครูอาชีวศึกษา ของสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 จำนวน 15 คน เป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีประการณ์สอน ไม่ต่ำกว่า 6 ปี โดยเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาสรุปภาพรวม และวิเคราะห์โดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า สภาพปัญหาสมรรถนะที่จำเป็นครูอาชีวศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 แบ่งออกเป็น 2 สมรรถนะ ได้แก่ สมรรถนะหลัก ประกอบด้วย 5 สมรรถนะ ได้แก่ 1) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน 2) การบริการที่ดี3) การพัฒนาตนเอง 4) การทำงานเป็นทีม และ 5) จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู และสมรรถนะประจำสายงาน ประกอบด้วย 6 สมรรถนะ ได้แก่ 1) การบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ 2) การพัฒนาผู้เรียน 3) การบริหารจัดการชั้นเป็นการจัดบรรยากาศ 4) การวิเคราะห์สังเคราะห์และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน 5) ภาวะผู้นำ และ 6) การสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์ โดย สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1
306 หมู่ 5 ถนนมิตรภาพ หนองคาย-อุดรธานี ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 43000
โทร 0-4241-1445,0-4241-1447
ISSN : 3027-6861 (print) ISSN : 3027-687X (online)
References
สำนักกรรมาธิการ 3 สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.(2560). รายงานการพิจารณาศึกษาเรื่องครูอาชีวศึกษา : การผลิต 2560 การพัฒนา และมาตรฐานครูวิชาชีพ. สำนักงานเลขาธิการ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2566). ข้อมูลสถิติการอนุมัติ ให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2566, จาก https://otepc.go.th/th/otepc03 /news-otepc03/ item/4556-2566.html.
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2566). ข้อมูลครู. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2566, จาก https://isee.eef.or.th.
อุทุมพร อินทจักร, (2562) อนาคตภาพของครูอาชีวศึกษาไทยในทศวรรษหนา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม,13(1),317-328.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2565). แผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
โอภาส สุขหวาน และคณะ. (2562). การศึกษาสมรรถนะความเป็นครูของครูอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการอุตสาหกรรม, 13(1), 107-121.
ชัชรินทร์ ชวนวัน. (2550). การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาตามหลักการสมรรถนะ.วารสารสถาบันพัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา. 2(18), 3-6
Likert, R.. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in. Fishbeic,M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New. York ...