รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูง ตามมาตรฐานของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย สาขาวิชาช่างอากาศยาน วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี The College Administration Model for Producing and Developing High-Competency Vocational Manpower According to the Civil Aviation Authority of Thailand Standards for Aircraft Maintenance Technician At Ubon Ratchathani Technical College
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูงตามมาตรฐานของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย สาขาวิชาช่างอากาศยาน วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี วิธีวิจัยมี 4 ตอนดังนี้ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความคาดหวังที่มีต่อการบริหารสถานศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูงตามมาตรฐานของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย สาขาวิชาช่างอากาศยาน วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี 2) สร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษา 3) การทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษา 4) การประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาพบว่า ลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ ด้านการบริหารและการจัดการและด้านผลผลิต รูปแบบการบริหารสถานศึกษา มี 4 ส่วน ได้แก่ 1) ส่วนนำ 2) ตัวแบบ 3) การนำรูปแบบไปใช้และ 4) เงื่อนไขข้อจำกัด ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษา พบว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อการบริหารสถานศึกษามีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ส่วนนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษามีความพึงพอใจ ในระดับมากที่สุด ผู้เรียนสำเร็จการศึกษามีสมรรถนะตามที่หลักสูตรกำหนดคิดเป็นร้อยละ 100 มีงานทำหรือประกอบอาชีพ คิดเป็นร้อยละ 90.90 ศึกษาต่อคิดเป็นร้อยละ 9.10 และ สถานประกอบการมีความพึงพอใจต่อคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์ โดย สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1
306 หมู่ 5 ถนนมิตรภาพ หนองคาย-อุดรธานี ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 43000
โทร 0-4241-1445,0-4241-1447
ISSN : 3027-6861 (print) ISSN : 3027-687X (online)
References
เยาวเรศ ตระกูลวีรยุทธ, “รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขีดสมรรถนะสูง สังกัดการปกครองท้องถิ่น”, (ปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, พิษณุโลก, 2558.
อุทัย ภู่เจริญ, “การศึกษาสร้างคน คนสร้างประเทศ Important of Education is Essential to our Country” วารสารมหาจุฬาคชสาร, 12 (1),
p25-33, 2564.
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม,“ศักยภาพอุตสาหกรรมซ่อมบำรุงและผลิตชิ้นส่วนอากาศยานของประเทศไทยเปรียบเทียบกับต่างประเทศ”กระทรวงอุตสาหกรรม : สถาบันยานยนต์, 2563.
อัญยาณีย์ เกตุพันธุ์, “แนวทางการจัดการการผลิตช่างอากาศยานของสถาบันฝึกอบรมช่างอากาศยานในประเทศไทย” Journal of Management Science
Research, Surindra Rajabhat University, 6(2),p204-218, 2022.
อรรถพล สังขวาสี และคณะ, “อนาคตคุณภาพการอาชีวศึกษาไทยในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2565-2574)”ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยตะวันออกเฉียงเหนือ, 2564.
รัชต ไตรมาลัย และคณะ, “การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเพื่อความเป็นเลิศของสถาบันการอาชีวศึกษาเพื่อรับรองการเป็นประเทศไทยการอาชีวศึกษาเพื่อรับรองการเป็นประเทศไทย 4.0” วารสารครุศาสตร์(จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย), 47 (1), p294-314, 2562.
ณัฐสิฏ. รักษ์เกียรติวงศ์, “การปฏิรูปอาชีวศึกษาของประเทศไทย” สืบค้น 27 ตุลาคม 2566, จาก https://tdri.or.th/2016/08/vocationaleducation-reform/, 2559.
ปภาพร เมืองมนตรี, “รูปแบบการพัฒนาทัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ของครูวิชาภาคพื้น กองวิชาช่างอากาศยาน”วารสารนิติศาสตร์บริหารรัฐกิจ (สังคมศาสตร์และนิติศาสตร์), 7 (1), p289-312, 2023.
ธนุ วงษ์จินดา, “ผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูงเพื่อการพัฒนาประเทศ” วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1, 7 (2),
p1-150, 2565.
ทิศนา แขมมนี, “องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ” กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.
สมาน อัศวภูมิ, “การบริหารการศึกษาสมัยใหม่ : แนวคิดทฤษฎี และการปฏิบัติ” พิมพ์ครั้งที่ 4. อุบลราชธานี : หจก.อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์, 2551.
ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา, “การจัดการเชิงกลยุทธ์ Strategic Management” วารสารการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 8 (1), p1-12. 2550.
ทวน เที่ยงเจริญ, “การพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อความเป็นเลิศของสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา” หลักสูตร
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, พระนครศรีอยุธยา, 2563.
พสุ เดชะรินทร์, “องค์การแห่งการเรียนรู้ วัฒนธรรมองค์การ” ผู้จัดการรายสัปดาห์, 2550.
พิเชฐ โพธิ์ภักดี, “การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนนิติบุคคล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน”วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร, 2553.
ธัญญรัตน์ คำเพราะ, “ปัจจัยการบริหารสถาบันการบินพลเรือนสู่ความเป็นเลิศ” ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(สาขาวิชาการบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยศิลปากร,
กรุงเทพมหานคร, 2560.
ระพี สาคลิก, “การอุดมศึกษากับปัญหาวิกฤตของชาติ”,ในรวมบทความ 30 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.กรุงเทพมหานคร, 2541.
พิชชาภา เกาะเต้น, “ผลกระบบของการทำงานเป็นทีมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่ส่งผลต่อความผูกพัน และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท โตโยต้านนครธน”ปริญญามหาบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรบริหารธุรกิจ),มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพมหานคร, 2563.
ธาตรี พิบูลมณฑา และคณะ, “แนวคิดการบริหารสถานศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูงเพื่อตอบสนองการพัฒนาประเทศ
สาขาวิชาช่างอากาศยานตามมาตรฐานสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย : กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี” วารสารสถาบันการ
อาชีวศึกษาภาคใต้ 3, 3 (2),p 22 -27, 2566.
วรัญพงศ์ บุญศิริโตมาชัย และคณะ, “องค์ประกอบภาวะผู้นำที่มีผลต่อความพึงพอใจและความผูกพันในการทำงาน” วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 4(1), p44-59, 2565.
จินตวัชร์ เพชรเรียง, “ภาวการณ์มีงานทำของผู้สำเร็จการศึกษาสถาบันการบินพลเรือน” สืบค้น 27 ตุลาคม 2566 จาก http://digital.nlt.go.th/ dlib/items/show/8342.
รัชพล กลัดชื่น และจรัญ แสนราช, “การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจความพึงพอใจของสถานประกอบการที่มีต่อนักศึกษาทักษะวิชาชีพ ระดับ
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง” วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9 (1),p48-54, 2562.