การพัฒนาผลิตภัณฑ์กัมมี่เยลลี่จากเมล่อนที่เหลือใช้ในวิสาหกิจชุมชนเกษตรปลอดภัยสูง อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์กัมมี่เยลลี่จากเมล่อน โดยนำเสนอแนวทางการแปรรูปเมล่อนที่มีและเหลือใช้จากการทำขนมหวานช่วยลดการสูญเสียผลผลิต เพิ่มมูลค่าให้กับเมล่อน และสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร และ เพื่อทดสอบคุณภาพของนำผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้น โดยมีสถานที่ในการทำวิจัยคือ วิสาหกิจชุมชนเกษตรปลอดภัยสูง อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา โดยมีขั้นตอนในการวิจัยประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาข้อมูลเบื้องต้น 2) การศึกษาปริมาณน้ำเมล่อน ปริมาณเจลาติน และอัตราส่วนของน้ำตาลที่มีผลต่อผลิตภัณฑ์ฯ 3) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบฯ 4) การศึกษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ฯ
ผลการวิจัยพบว่า 1)จากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นพบว่าในปัจจุบันมี เมล่อนที่เหลือจากกระบวนการแปรรูปของวิสาหกิจ ประมาณ 30-50 กิโลกรัมต่อวัน 2) สูตรที่มีปริมาณน้ำเมล่อน 300 กรัม ปริมาณเจลาติน 150 กรัม และอัตราส่วนของน้ำตาล 200 กรัม โดยสัดส่วนดังกล่าวมีผลที่เหมาะสมต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์กัมมี่เยลลี่ 3)การตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เยลลี่แห้ง พบว่า มีจำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมด ไม่เกิน 1 x 104 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 กรัม ซึ่งไม่เกินตามมาตรฐานกำหนด ทั้งนี้มีการทดลองจัดจำหน่ายในร้านค้าภายในวิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา และ ร้านค้าเอกชนภายนอกสถานศึกษา จำนวน 1 ร้าน มีค่าเฉลี่ยของการจัดจำหน่ายอยู่ที่วันละ 500-600 กรัม ต่อวัน โดยมีผลการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารจำนวน 5 คน ผลการประเมินพบว่ามีความพึงพอใจในภาพรวมระดับ ดีมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์ โดย สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1
306 หมู่ 5 ถนนมิตรภาพ หนองคาย-อุดรธานี ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 43000
โทร 0-4241-1445,0-4241-1447
ISSN : 3027-6861 (print) ISSN : 3027-687X (online)
References
B.Chodtong, “Reduce global warming, start with our “plates”. Thailand Environment Institute,[Online]. https://www.tei.or.th/th/article_detail.php?bid=157 (Accessed :12 October 2024). (in Thai)
C. Makjan and et al., “A device of measuring melon sweetness by near-infrared technique”, UTK research journal, 15(2), 58-69, 2021. (in Thai)
H.Charlotte, 100 Super Immune-Boosting Foods. Samut Prakan: Kyodo Nation Printing Service Ltd, 2007. (in Thai)
M.Chinnawongjui and S.Suwannasiri, “Development of Garcinia Gummy Jelly”, B.S. Thesis, Food Science and Technology, Nakhon Pathom Rajabhat University, 2019. (in Thai)
M.J. Villanueva and et al. “Compositional changes during ripening of two cultivars of muskmelon fruits”, Food Chem, 87(2), 179- 185, 2004.
P.Rittilerd and K.Warin, “Development of Karanda (Carissa carandas L.) Gummy Jelly Product”, Thai Journal of Science and Technology, 9(2), 342-354, 2020.(in Thai)
S.Supimas, Candy and Chocolate Production Technology, Bangkok : Chulalongkorn University press. 2000.(in Thai)