การพัฒนาประสิทธิผล หลักสูตรอาชีวศึกษาเพื่อท้องถิ่น การพัฒนาประสิทธิผล หลักสูตรอาชีวศึกษาเพื่อท้องถิ่น

Main Article Content

ดร.สุนทรผไท จันทระ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาประสิทธิผลหลักสูตรอาชีวศึกษาเพื่อท้องถิ่น โดยเน้นการแก้ปัญหาสำคัญ (Pain Point) ของการจัดหลักสูตรที่ออกแบบจากหน่วยงานส่วนกลาง ซึ่งอาจไม่ตอบสนองต่อความต้องการของคนในพื้นที่ และไม่สอดคล้องกับบริบทของชุมชนที่มีความแตกต่างกันทั้งสภาพพื้นที่ สังคม และเศรษฐกิจผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษาเพื่อท้องถิ่นควรใช้แนวคิด Outcome-Based Education (OBE) ที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน โดยมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ 1) เครือข่ายความร่วมมือศักยภาพสูง 2) เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชน และ 3) การสร้างสมรรถนะพิเศษเฉพาะพื้นที่ ทั้งนี้ได้เสนอยุทธศาสตร์การพัฒนา 3 ด้าน คือ 1) การกระจายอำนาจการบริหารจัดการหลักสูตร 2) การพัฒนาศักยภาพบุคลากรและผู้เกี่ยวข้อง และ 3) การสร้างภาคีเครือข่าย ผลลัพธ์ที่คาดหวังจากการพัฒนา คือ การสร้างหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน พัฒนากำลังคนที่มีสมรรถนะตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานในพื้นที่ และสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานราก นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจ BCG และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

Article Details

บท
บทความพิเศษ

References

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 -2580) สำหรับประเทศไทย, กรุงเทพฯ, ประเทศไทย : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2561.

กรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 [National Economic and Social Development Plan, 13th Edition], กรุงเทพฯ, ประเทศไทย : กรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2565.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, “เศรษฐกิจและสังคมในปี 2564 : สถานการณ์ความยากจนหลายมิติของประเทศไทย”, [Online]. https ://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=

,2565. [Accessed: 20 มีนาคม 2567].

สำนักงานเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, แผนแม่บทเศรษฐกิจฐานราก, กรุงเทพฯ : สำนักงานเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2563.

ใจทิพย์ เชื่อรัตนพงษ์, หลักสูตรท้องถิ่น, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (บรรณาธิการ), การเรียนรู้ในชุมชน : วิถีในการเรียนรู้ที่แตกต่าง (หน้า 107), หมอชิต, กทม. : พี. พริ้นท์, 2539.

วิชัย ประสิทธิ์วุฒิเวชช์, หลักสูตรท้องถิ่น : นวัตกรรมสู่การพัฒนาท้องถิ่น, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เมืองไทย, หน้า 124, 2542.

อุดม เชยกีวงศ์, หลักสูตรท้องถิ่นและการพัฒนาชุมชน : การจัดการเรียนรู้และความรู้ สู่สังคมที่ยั่งยืน (หน้า 6). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา , “หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง”, [Online]. http://bsq2.vec.go.th/document/การพัฒนาหลักสูตร/3.pdf. [Accessed: 21 มีนาคม 2567].