ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัท มุมกล้อง จำกัด
Main Article Content
Abstract
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน และความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัท มุมกล้อง จำกัด จำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพสมรสระดับการศึกษา แผนกการทำงาน และรายได้ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบไม่มีความน่าจะเป็น (Nonprobability Sampling) โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างตามสะดวก (Convenience Sampling) โดยการแจกแบบสอบถามรวมทั้งสิ้น 270 ชุด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการหาค่าทางสถิติเบื้องต้น ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิธี Factor Analysis สถิติ T-test, ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อายุ 50 ปีขึ้นไป มีการศึกษาในระดับสูงกว่าปริญญาตรี สถานภาพสมรสคู่ มีอายุการทำงานมากกว่า 20 ปี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 45,000 บาทขึ้นไป มีความพึงพอใจ ในการปฏิบัติงานและความผูกพันต่อองค์กรมาก
นอกจากนั้นพบว่าปัจจัยด้านองค์กร ได้แก่ รายได้ สวัสดิการที่ไม่ใช่ตัวเงิน สามารถพยากรณ์ ความพึงพอใจและความผูกพันต่อองค์กร ส่วนด้านโอกาสก้าวหน้าในงานสามารถพยากรณ์ความพึงพอใจ แต่ไม่สามารถพยากรณ์ความผูกพันได้ ซึ่งในทางกลับกันการรับทราบนโยบายของบริษัทไม่สามารถพยากรณ์ความพึงพอใจได้แต่สามารถพยากรณ์ความผูกพันได้ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ได้แก่ ความปลอดภัย ในการทำงานสามารถพยากรณ์ความพึงพอใจและความผูกพันต่อองค์กร ส่วนด้านผู้บังคับบัญชาและ เพื่อนร่วมงานไม่สามารถพยากรณ์ความพึงพอใจ แต่สามารถพยากรณ์ความผูกพันต่อองค์กร ด้านลักษณะ การบังคับบัญชาของผู้บังคับบัญชาสามารถพยากรณ์ความพึงพอใจ แต่ไม่สามารถพยากรณ์ความผูกพันได้ และปัจจัยด้านเนื้อหาของงาน ได้แก่ ขอบเขตและความเหมาะสมของงานสามารถพยากรณ์ความพึงพอใจ และความผูกพันต่อองค์กร ด้านลักษณะของงานไม่สามารถพยากรณ์ความพึงพอใจและความผูกพันต่อองค์กรได้ ณ ระดับนัยสำคัญที่ 0.05
FACTORS AFFECTING SATISFACTION AND ORGANIZATION COMMITMENT: A CASE STUDY OF CAMERA CORNER COMPANY LIMITED
The purpose of this research is to study the factors affecting the work satisfaction and the commitment to the organization of the employees in the case study company, Camera Corner Company Limited. The employees are divided based on sex, age, marital status, educational level, work department and income. The study employs non-probability sampling method using convenience sampling. The totals of 270 sets of questionnaire were distributed. The data is evaluated by using a software program to calculate the basic statistical figures such as frequency, percentage value(s), mean, and standard deviation and by employing factor analysis in T-test, one-way ANOVA and multiple regression analysis.
The study results reveal that the sampled group is mostly 50 years of age and above, has the educational level higher than undergraduate degree, is married, has more than 20 years of work experience, has average monthly income of 45,000 baht and above, and has high work satisfaction and attachment to the organization.
In addition, the results reveal that organizational factors such as income and non-monetary benefits can predict the level of satisfaction and attachment to the organization. Opportunity for career advancement can also predict the work satisfaction, but cannot predict the commitment. In the contrary, acknowledgement of the company’s policy cannot predict the level of satisfaction but can predict the attachment. Environmental factors such as workplace safety can predict the work satisfaction and the attachment to the organization. The type of supervisor and coworkers cannot predict the satisfaction but can predict the attachment to the organization. The supervision style of the supervisor can predict the work satisfaction but cannot predict the attachment. Work content factors such as the boundary and the suitability of work can predict the work satisfaction and the attachment to the organization. The type of work cannot predict the work satisfaction and the attachment to the organization. The statistical significant of level is 0.05.
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์