แนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษา จำแนกตามบริบทชุมชน ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในตำแหน่งผู้อำนวยการ และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางในการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในสถานศึกษา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้อำนวยการสถานศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จำนวน 123 คน วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติเชิงอนุมานโดยการทดสอบความแตกต่างค่าที (t-test) และทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยรายด้านจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการบริหารงานงบประมาณ ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานทั่วไป ด้านการบริหารงานบุคคล
2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จำแนกตามบริบทชุมชน ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในตำแหน่งผู้อำนวยการ พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. แนวทางในการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 พบว่า แต่ละด้านควรเน้นจัดการเรียนการสอนมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การดำเนินงานต้องถูกต้อง โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้
Article Details
References
กอบกฤช การควรคิด. (2561). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. ใน งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2553). คู่มือฝึกอบรมครูแนะแนว. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชินภัทร ภูมิรัตน. (2555). การศึกษากับความมั่นคงของมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
ธร สุนทรายุทธ. (2551). การบริหารจัดการเชิงปฏิรูป : ทฤษฎี วิจัย และปฏิบัติทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: เนติกุลการพิมพ์.
พาฝัน บูละ. (2561). การมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของชุมชนตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9 ณ ห้องประชุม Blue Ocean Hall อาคารคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, 20 กรกฎาคม 2561, หน้า 1359-1376.
สถาบันพระปกเกล้า. (2553). การมีส่วนร่วม. เรียกใช้เมื่อ 25 มกราคม 2564 จาก http://www.kpi.ac.th/wiki/index.php/
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (2557). ราชกิจจานุเบกษา. เรียกใช้เมื่อ 25 กันยายน 2563 จาก http://www.senate.go.th/w3c/senate/pictures/comm/52/lawguide/law1/6.pdf
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2551). การศึกษาเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข: แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปี 2551 – 2554 ของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุทธิษา เพ็ญศรี. (2563). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
หวน พินธุพันธ์. (2554). นักบริหารมืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.