การศึกษากิจนิสัยในการเรียนวิชาศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

อานนท์ ปล้ำกระโทก
สุริชา ฐานวิสัย

บทคัดย่อ

        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจระดับกิจนิสัยในการเรียนวิชาศาสนาของนักเรียน และ 2) เปรียบเทียบกิจนิสัยในการเรียนวิชาศาสนาของนักเรียนห้องปกติและนักเรียนโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย ดำเนินการโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่างวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสุรวิวัฒน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จำนวน 63 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามประเภทห้องเรียน ได้แก่ นักเรียนห้องปกติ จำนวน 28 คน และนักเรียนโครงการ วมว. จำนวน 35 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ คือ แบบสอบถามกิจนิสัยในการเรียนวิชาศาสนา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และการทดสอบสถิติทีแบบตัวอย่างเป็นอิสระจากกัน


ผลการวิจัยพบว่า:


  1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีกิจนิสัยในการเรียนวิชาศาสนาอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านการพึ่งพาตนเองมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านการวางแผนในการเรียน ด้านการตั้งเป้าหมายในการเรียน และด้านความใฝ่รู้ใฝ่เรียน ตามลำดับ มีค่าเฉลี่ยในระดับปานกลาง

  2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้องปกติมีค่าเฉลี่ยกิจนิสัยในการเรียนวิชาศาสนาไม่แตกต่างจากนักเรียนโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ฯ (t(61)= -1.710, p=.092) ทั้งนี้เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า นักเรียนโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์มีกิจนิสัยในการเรียนวิชาศาสนาด้านการพึ่งพาตนเองสูงกว่านักเรียนห้องปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t(61)= -2.276, p=.026) อย่างไรก็ตาม กิจนิสัยในการเรียนวิชาศาสนาด้านการวางแผนในการเรียน ด้านความใฝ่รู้ใฝ่เรียน และด้านการตั้งเป้าหมายในการเรียน นักเรียนห้องปกติมีค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างจากนักเรียนโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ประไพ จุทอง และคณะ. (2559). ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการสอนวิชาพระพุทธศาสนาของครูพระโรงเรียนมหาวชิราวุธ อำเภอเมืองจังหวัดสงขลา. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 1(2), 77-97.

พระมหาวาทิตย์ อภิปุณฺโณ, วิทยา ทองดี และปาณจิตร สุกุมาลย์. (2566). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเขวาไร่ศึกษา จังหวัดมหาสารคาม. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 10(3), 241-254.

พระศรีรัชมงคลบัณฑิต และคณะ. (2565). พฤติกรรมการเรียนรู้ทางด้านพระพุทธศาสนาของเยาวชนไทย. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 27(2), 82-96.

พระมหาสมยศ เพียสา. (2553). การศึกษาและพัฒนาแรงจูงใจในการเรียนวิชาพระพุทธศาสนาของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โดยใช้กิจกรรมกลุ่ม. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รติพร ตันมา และวิเชียร ธำรงโสตถิสกุล. (2566). การพัฒนากิจกรรมการเรียนแบบออนไลน์วิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมที่ส่งเสริมความสามารถในการเรียนด้วยตนเองและการบริหารเวลา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 6. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(7). 380-395.

รินทร์ณฐา บวรวัชรเศรษฐ์ และวรางคณา โสมะนันทน์. (2564). การศึกษาการจัดการเรียนการสอนช่วงสถานการณ์ COVID-19 สำหรับนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ. วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ, 10(2), 121-135.

ศุภกาญจน์ วิชานาติ, พูไทย วันหากิจ และจุฬารัตน์ วิชานาติ. (2564). การบูรณาการการจัดการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนา. วารสารปณิธาน, 17(2), 233-256.

สุภาพร เสี่ยงเคราะห์. (2556). การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. ใน งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

Bilge, et al. (2014). Factors Affecting Burnout and School Engagement among High School Students: Study Habits, Self- Efficacy Beliefs, and Academic Success. Educational Sciences: Theory and Practice, 14(5), 1721-1727.

Clark, L. A., & Watson, D. (2016). Constructing validity: Basic issues in objective scale development. In Kazdin, A. E. (2016). Methodological issues and strategies in clinical research (4th ed.). American Psychological Association. https://doi.org/10.1037/14805-012.

Gahir, et al. (2022). Relationship between Study Habits and Academic Achievement of Secondary School Students. Contemporary Research in Education and English Language Teaching, 4(1), 1-9.

Sarker, et al. (2024). A quantitative research of learning habits of secondary school students: An observational study in Dhaka Division. Journal of Social, Humanity, and Education, 4(2), 117-127.