การพัฒนารูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพบริหารการศึกษา หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

บรรจง เจริญสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพบริหารการศึกษา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพบริหารการศึกษา 3) เพื่อทดลองและประเมินผลการใช้รูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพบริหารการศึกษาที่มีประสิทธิผล การวิจัยมี 3 ขั้นตอน คือศึกษาองค์ประกอบของการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพบริหารการศึกษา กลุ่มเป้าหมายได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิทางการบริหารการศึกษา 5 คน เลือกแบบเจาะจง โดยใช้แบบสัมภาษณ์ การพัฒนารูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพบริหารการศึกษา โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ การทดลองใช้และประเมินผลการใช้รูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพบริหารการศึกษาที่มีประสิทธิผล โดยนักศึกษาหลักสูตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีจำนวน 59 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ความรู้ความเข้าใจและความพึงพอใจของผู้ใช้รูปแบบ มีค่าความเชื่อมั่นที่ .95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า


องค์ประกอบของการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพบริหารการศึกษา ประกอบด้วย 11 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการและเหตุผล 2) คำอธิบายรายวิชา 3) เป้าหมายของการฝึก 4) จุดมุ่งหมายของการฝึก5) กิจกรรมการฝึกภาคสนาม 6) บทบาทหน้าที่ของฝ่ายต่าง ๆ 7) การประเมินผลการฝึกปฏิบัติ 8) เอกสารที่เกี่ยวกับการฝึกปฏิบัติ 9) แบบบันทึกระหว่างการฝึกปฏิบัติ 10) การประเมินการฝึกปฏิบัติ และ 11) หน่วยงานการฝึกและอาจารย์นิเทศ


ผลการพัฒนารูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพบริหาร พบว่า มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) วิธีดำเนินการ 4) แนวทางการประเมินผล 5) เงื่อนไขความสำเร็จ โดยรูปแบบมีความเหมาะสมและเป็นไปได้ในระดับมากที่สุด ผลการทดลองใช้และประเมินผลการใช้รูปแบบ พบว่า นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ และมีความพึงพอใจในเนื้อหาและกระบวนการฝึกปฏิบัติการของรูปแบบ อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Kolb, David A. (1995). Organizational Behavior AN Experimental Approach. New Jersey: Prentic-hall International, Inc.

ณัฐวัชร จันทโรธรณ์ และพงษ์ศักดิ์ พัวพรพงษ์. (2563). ประสิทธิผลขององค์การ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, 9(2), 1-9.

ทิศนา แขมมณี. (2560). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์.

ปรีดา บัวยก และคณะ. (2564). รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารบัณฑิตวิจัย, 12(1), 15-29.

พัฒนา พรหมณี และคณะ. (2560). แนวคิดการสร้างและพัฒนารูปแบบเพื่อใช้ในการด าเนินงานด้านการสาธารณสุขสำหรับนักสาธารณสุข. วารสารวิชาการ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 6(2), 128-135.

ภัททิรา เดชฤกษ์ปาน และคณะ. (2564). การพัฒนาแบบรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงรุก เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 5(1), 1-15.

ยุทธนา เกื้อกูล. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอิสลามศึกษา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วรรณกานต์ ชอบจิตต์. (2562). แนวทางการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพทางการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. เชียงราย: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2556). ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2556 ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 130 ตอนพิเศษ 130 ง. (4 ตุลาคม 2556).

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2558). การดำเนินงานรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาเพื่อการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สกสค.

Kolb, David A. (1995). Organizational Behavior AN Experimental Approach. New Jersey: Prentic-hall International, Inc.