การขัดเกลาทางสังคมตามแนวคิดของนักวิชาการทางพระพุทธศาสนา

Main Article Content

สิวริศร์ สุทธิมโน
กัญญา วงศ์เวชกุล
กันตภณ หนูทองแก้ว

บทคัดย่อ

        บทความทางวิชาการเรื่อง “การขัดเกลาทางสังคมตามแนวคิดของนักวิชาการทางพระพุทธศาสนา” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค้นคว้า กระบวนการขัดเกลาทางสังคมผ่านตัวแทนกลุ่มในสังคม โดยได้ใช้วิธีการค้นคว้าจากเอกสาร งานวิจัย หนังสือ ตำรา ตลอดถึงคัมภีร์ศาสนาต่าง ๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ การขัดเกลาทางสังคม คือ กระบวนการที่คนเรียนรู้ ซึมซับบรรทัดฐานและค่านิยมของสังคมจากการสั่งสอนหรือการบอกกันโดยตรง และจากการสังเกตของตัวเองให้สามารถใช้ชีวิตร่วมกันกับผู้อื่น ใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และพัฒนาตนเองให้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม รวมถึงเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพของตนเอง ซึ่งการขัดเกลาทางสังคมมีนักวิชาการทางพระพุทธศาสนาได้ให้แนวคิดไว้หลายท่าน ตามแนวคิดของนักวิชาการทางพระพุทธศาสนาอาจกล่าวได้ว่า พระพุทธศาสนายกย่องบุคคลผู้ที่ได้รับอบรมขัดเกลาตนเองมาดีแล้วว่าเป็นผู้ประเสริฐ เพราะกาย วาจา และใจที่ฝึกฝนอบรมมาดีแล้วย่อมจะแสดงพฤติกรรมออกมาด้วยความดีงาม การขัดเกลาทางสังคมในพระพุทธศาสนา ทำให้สังคมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยดีงามรวมทั้งการอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสันติสุข การอบรมขัดเกลาทางพุทธศาสนามีความจำเป็นและสำคัญต่อบุคคลในฐานะที่ต้องฝึกฝนพัฒนาตนเองให้มีความสุขความเจริญ และสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามแก่ตนเองและผู้อื่น เมื่อบุคคลได้มีการขัดเกลาดีแล้ว ย่อมบรรลุประโยชน์อันยิ่งใหญ่ได้อย่างเหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

งามพิศ สุภาพ. (2545). หลักมานุษยวิทยาวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ และคณะ. (2547). สังคมวิทยา. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ดำรง ฐานดี. (2522). การวิเคราะห์ทฤษฎีพวกพ้อง: การมองปัญหาของ Levi-Strauss. วารสารรามคําแหง, 2(6), 72-73.

ธรรมนูญ คำสัตย์. (2560). วิธีสร้างวินัยในตัวเองทำได้ไม่ยาก. เรียกใช้เมื่อ 30 เมษายน 2566 จาก http://www.acn.ac.th/articles/mod/forum/discuss.php?d=359

นิยพรรณ วรรณศิริ. (2540). มานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ผ่องพันธุ์ มณีรัตน์. (2539). มานุษยวิทยากับการศึกษาคติชนวิทยา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิชัย ภู่โยธิน และคณะ. (ม.ป.ป.). หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม ม.4 - ม.6. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์.

สุพัตรา สุภาพ. (2549). ปัญหาสังคม. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

World Health Organization. (1999). Partners in Life Skills Education. Geneva: WHO.